การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในสหกรณ์การเกษตร

ผู้แต่ง

  • ชุติบัณฑิ์ แสงหวัง หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์, องค์การแห่งการเรียนรู้, สหกรณ์การเกษตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบองค์ประกอบของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และ 2)เพื่อทราบแนวทางในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในสหกรณ์การเกษตร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตรที่มีศูนย์การเรียนรู้สหกรณ์ฯ ทั่วประเทศ 210 สหกรณ์ฯกลุ่มตัวอย่างจำนวน 136 สหกรณ์ฯ ได้จากตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้จัดการ และผู้ดูแลศูนย์การเรียนรู้ในสหกรณ์ฯรวมทั้งสิ้น 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) พลวัตแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 19 ตัวแปร 2) เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ประกอบด้วย 16 ตัวแปร 3) การจัดการความรู้ ประกอบด้วย 8 ตัวแปร 4) การปรับเปลี่ยนองค์การ ประกอบด้วย 11 ตัวแปร 5) การเสริมสร้างความรู้แก่บุคลากร ประกอบด้วย 7 ตัวแปร และ6)การบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 6 ตัวแปร 2. แนวทางในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่องค์การแห่งการเรียนรู้ในสหกรณ์การเกษตร จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ พบว่ามี 67 แนวทาง และนำมาสังเคราะห์เข้าในทฤษฎีของ เคอนิคกี้และวิลเลียมส์ (Kinicki and Williams) ที่กล่าวถึง การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ว่า ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) การกำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยม 2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) และประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน 3) การกำหนดกลยุทธ์ 4) การดำเนินการตามกลยุทธ์ และ 5) การประเมินผล และการควบคุมกลยุทธ์

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2558). ตัวแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ และการจัดการความรู้สู่การเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 21(2), 133-148.

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมสหกรณ์ 20 ปี. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563, จากhttps://www.cpd.go.th/images/cpd60_79.pdf

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2558). นโยบาย และยุทธศาสตร์สหกรณ์การเกษตร. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563, จาก http://km.cpd.go.th/pdf-bin/pdf3264005964.pdf

กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2556). วาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2014/1/13259_4_1390968311349.pdf

กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารการจัดการสหกรณ์. (2559). รูปแบบการจัดการสหกรณ์เชิงกลยุทธ์ของสหกรณ์. แพร่: สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่.

จุฑาทิพย์ ภัทราวาท และคณะ. (2555). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องวรรณกรรมปริทัศน์งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ด้านสหกรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2556). การจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) ฉบับปรับปรุงใหม่.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ดวงมณี เลาหประสิทธิพร. (2558). สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM. เอกสารประกอบการบรรยาย.มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2560). กลยุทธ์ การวางแผนและการจัดการ (Strategic Planning & Management). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส.

ประทีป พงษ์สำราญ, นิตยา เพ็ญศิรินภา และพาณี สีตกะลิน. (2557). การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 7(26), 27-38.

ปราณี ตันประยูร. (2560). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุทธยา. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 35-44.

ประชุม โพธิกุล. (2555). การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2563,จาก https://www.gotoknow.org/posts/435275

ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ. (2556). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มิตรภาพการพิมพ์และสติวนิโอ.

วัฒนสิน บุสดี และคณะ. (2558). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 9(2), 52-62.

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2555). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์: การจัดการเชิงกลยุทธ์ ในการบริหารโรงพยาบาล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เอกกนก พนาดำรง. (2559). มุ่งสู่...องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ด้วยKM.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล, 9(2), 90-92.

Dehaghi, K. M. (2014). Learning organizations and knowledge management: Which one enhances another one more?. International Journal of Industrial Engineering Computations, 4(2), 325-334.

Kim, Y. S., & Marsick, V. J. (2013). Using the DLOQ to Support Learning in Republic of Korea SMEs. Advances in Developing Human Resources, 15(2), 207-221.

Kinicki, A., & Williams, B. (2019). Management: A Practical Introduction. (9th ed.). New York: McGraw-Hill Education.

Saadat, V., & Saadat, Z. (2016). Organizational Learning as a Key Role of Organizational Success. 3rd International Conference on New Challenges in Management and Organization: Organization and Leadership, 2 May, 2016, Dubai, UAE. Retrieved May 26, 2020, from https://cyberleninka.org/article/n/677864

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28