การบริหารการฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ เน้นเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อให้เกิดการเริ่มต้นธุรกิจใหม่

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์ปพัชช์ ชัยศิริกุล หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการใหม่, เทคโนโลยีทางการเงิน, การเริ่มต้นธุรกิจใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารการฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่เน้นเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ เป็นการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับในแวดวงการบริหาร การฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่เน้นเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อการเริ่มต้นธุรกิจใหม่เป็นผู้ให้ข้อมูล จำนวน 21 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามเกณฑ์เฉพาะ กลุ่มที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลระดับนโยบายด้านการบริหารการฝึกอบรมโครงการ จำนวน 7 คน กลุ่มที่ 2 นักวิชาการการบริหารการฝึกอบรมโครงการ จำนวน 7 คน กลุ่มที่ 3 นักปฏิบัติการบริหารการฝึกอบรมโครงการ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสัมภาษณ์และแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารการฝึกโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่เน้นเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ซึ่งเป็นแบบมาตรวัดประเมินค่าของลิเคิร์ท 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่เน้นเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ตามฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญปรากฏภาพอนาคต ประกอบด้วย 1) การเตรียมการก่อนฝึกอบรม ได้แก่ การกำหนดนโยบายการฝึกอบรม การเตรียมที่ปรึกษา การเตรียมวิทยากร การเตรียมทีมงานอบรม การเตรียมผู้เข้าอบรม การเตรียมงบประมาณแหล่งเงินสนับสนุนอุปกรณ์และสถานที่จัดอบรม การเตรียมหลักสูตร 2) การดำเนินการฝึกอบรม ซึ่งประกอบไปด้วย เนื้อหาการฝึกอบรม การอบรมเนื้อหาการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ การอบรมเนื้อหาเกี่ยวกับการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ การอบรมเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเงิน เทคนิคที่ใช้ในการฝึกอบรม กิจกรรมฝึกอบรม เทคโนโลยีการฝึกอบรม และ 3) การดำเนินการหลังการฝึกอบรม ซึ่งประกอบไปด้วย การประเมินผลการฝึกอบรม ประกอบด้วย เนื้อหา วิทยากร การดำเนินการฝึกอบรม มีการติดตามผลหลังการฝึกอบรม

References

นนทวัชร์ อนันท์พรจินดา. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบการที่มีศักยภาพจากฐานการดำเนินงาน โครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (NEC) (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564 (30 ธันวาคม 2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 155 ก, น. 82-168.

พรชัย ชุนหจินดา. (2560). ฟินเทค ( Fin Tech ) เพื่อก้าวสู่การเป็นประเทศไทย 4.0. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2564, จาก http://www.e-jodil.stou.ac.th/14_1_592.pdf

พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 (31 กรกฎาคม 2560) ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 79 ก, น. 1-5, 12.

ภัทรกิตติ์ เนตินิยม. (2554). เอกสารการสอน เรื่อง ภาพรวมนวัตกรรมทางการเงิน. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564,จาก http://www.fin.bus.ku.ac.th/pdf/P/02_P_Fin%20Inno_STOU.pdf

เรวดี จุลรอด. (2556). กระบวนการฝึกอบรมและการบริหารงานฝึกอบรม. ค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2564, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/189628

เรวัต ตันตยานนท์. (2560). FinTech ใน 3 ความหมาย. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2564, จากhttp://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/640132

วีระพงษ์ สิโนรักษ์. (2012). การบริหารโครงการฝึกอบรม, ฉบับที่ 2. ค้นเมื่อ 9 เมษายน 2564,

จาก https://www.gotoknow.org/posts/13775Gotknow

เวทย์ นุชเจริญ. (2559). FinTech นวัตกรรมการเงินที่ SME ควรรู้จัก. ค้นเมื่อ 11 เมษายน 2564,

จาก http://www. bangkokbiznews.com/blog/detail/638030

Graham, P. (2012). Startup = Growth. Retrieved March 4, 2020, from http://www.paulgraham.com/ growth.html

Grant, M. (2019). Startup. Retrieved April 1, 2020, from https://www.investopedia.com/terms /s/Startup.asp

Kaur, H., & Bains, A. (2013). Understanding the concept of entrepreneur competency. Journal of Business Management & Social Sciences Research, 2(11), 31-33.

Mantel, Jr. S. J. et al. (2011). Project Management in Practice. (4th ed.). The United States of America: John Wiley & son, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27