ปัจจัยที่เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชนอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ความเข้มแข็งขององค์กร, การเงินชุมชน, อำเภอบางเลน, จังหวัดนครปฐมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชน 2) เปรียบเทียบระดับความเข้มเเข็งขององค์กรการเงินชุมชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชน โดยมีกลุ่มตัวอย่างของประชากรในชุมชน อำเภอบางเลน จำนวน 384 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว เมื่อพบว่ามีความแตกต่าง จึงทดสอบการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ วิเคราะห์สมการการถดถอยของพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชน อยู่ในระดับมาก 2) ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลาการเป็นสมาชิก ที่ต่างกัน มีความเข้มแข็งขององค์กรการเงินแตกต่างกัน ส่วน อายุ มีความเข้มแข็งขององค์กรการเงินไม่แตกต่างกัน และ 3) ผลการวิเคราะห์สมการการถดถอยพหุคูณ พบว่า ความเข้มแข็งขององค์กรการเงิน ด้านปัจจัยและความสัมพันธ์ภายใน ด้านปัจจัยและความสัมพันธ์ภายนอก ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีผลต่อความเข้มแข็งขององค์กร คิดเป็นร้อยละ 54.9 (R2 Adjusted .549 x 100 = 54.9)
References
กรกนก น้อยแย้ม. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของสถาบันการเงินชุมชนปากเกร็ดร่วมใจ 2 จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล. (2560). สาเหตุของวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง. ค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2561, จากhttps://www.stock2morrow.com
รังสรรค์ ปิติกัญญา. (2543). แนวทางการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนและเครือข่ายเพื่อการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(2), 148-160.
ลัดดาวัลย์ สำราญ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. ครั้งที่ 1 (The 1st RUSNC), 629-637.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (ม.ป.ป.) วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย 2540. ค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย_พ.ศ._2540
วิรไท สันติประภพ. (2560). ธรรมาภิบาลในการบริหารสหกรณ์ยุค 4.0 เชียงใหม่. ค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2561, จาก https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches
วิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม และอุษณากร ทาวะรมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์การประยุกต์, 11(1), 39-50.
ศิริเทพ วีระภัทรกุล และประชัน คะเนวัน. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างความเข้มเเข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 6(2), 22-29.
ศุภวัช มั่นป้อม. (2554). บทบาทของผู้นำในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนกองขยะหนองแขม
เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สยุมพร สนองผล. (2550). ความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชนในจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ศิลปะ
ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. ความเป็นมาของกกองทุนหมู่บ้าน. (2554). ค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2561, จาก https://www.parliament.go.th
สุวนิจ พิทักษ์ชาติ. (2547). ปัจจัยด้านสมาชิกที่มีผลต่อความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชน อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อมรรัตน์ มั่นสัมฤทธิ์. (2555). การศึกษาความมั่นคงทางการเงินขององค์กรการเงินชุมชนกรณีศึกษากลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์พัฒนาคุณธรรมครบวงจรชีวิต วัดป่ายางจังหวัดนครศรีธรรมราช (สารนิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
Maslow, A. (1970). Motivation and Personnality. New York : Harper and Row Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว