ปัญหาความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล: ศึกษามาตรการลงโทษที่เหมาะสม กรณีผู้ให้สินบนเป็นนิติบุคคล
คำสำคัญ:
การให้สินบน, ความรับผิดของนิติบุคคล, คอร์รัปชั่นบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาขอบเขตความรับผิดฐานให้สินบนกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ให้สินบนตามกฎหมายของประเทศไทย และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาประมวลกฎหมายอาญาของไทยโดยกำหนดความรับผิดและบทลงโทษของนิติบุคคลฐานให้สินบนไว้โดยเฉพาะเพื่อให้เหมาะสมกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและให้เกิดความยุติธรรมในสังคมมากที่สุด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำราวิชาการ วารสาร วิทยานิพนธ์ งานวิจัยต่าง ๆ และตำรากฎหมาย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่อไป
ผลการศึกษา พบว่า เมื่อนิติบุคคลกระทำความผิดไม่สามารถที่จะรับโทษในทางอาญาได้เหมือนเช่นกรณีบุคคลธรรมดา ปัจจุบันแนวโน้มของการให้สินบนแก่เจ้าพนักงานเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการให้สินบน
เพื่อประโยชน์ของบุคคลธรรมดา ทำให้โดยสภาพแล้วการให้สินบนโดยนิติบุคคลควรจะต้องมีบทบัญญัติ
ของกฎหมายที่มีการบัญญัติให้มีความชัดเจนถึงโทษและลักษณะของการกระทำความผิดให้สอดคล้องกับลักษณะของนิติบุคคลและความเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย โดยการกำหนดการให้สินบนของนิติบุคคลแก่เจ้าพนักงานของรัฐเป็นความผิดในทางอาญาที่มีการบัญญัติไว้โดยเฉพาะแก้ไขบทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญามาตรา 144 และ 167 ในเรื่องของการให้สินบน ซึ่งเป็นการกระทำโดยนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา ควรกำหนดอัตราโทษของนิติบุคคลไว้โดยเฉพาะให้อยู่ในรูปของโทษที่มีลักษณะเป็นพิเศษออกแตกต่างจากการกระทำและการลงโทษของบุคคลธรรมดา ให้รูปแบบในการลงโทษสอดคล้องกับลักษณะการกระทำความผิดของนิติบุคคลโดยเฉพาะ การลงโทษปรับมีลักษณะเป็นการลงโทษปรับในจำนวนเงินที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพในการควบคุมการกระทำความผิดของนิติบุคคล
References
คณพล จันทน์หอม. (2562). การป้องกันและปราบปรามการแสวงหาผลประโยชน์จากการอนุญาตโดยใช้อำนาจรัฐ. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 10(1), 87-111.
คณิต ณ นคร. (2554). กฎหมายอาญา ภาคทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ. (2561). นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นและการให้สินบน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(5), 301-310.
เชษฐภัทร พรหมชนะ. (2546). การนำมาตรการอื่นมาใช้บังคับค่าปรับนอกเหนือจากการ กักขังแทนค่าปรับ (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546.
ณรงค์ ใจหาญ.(2543).กฎหมายอาญา ว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ดิศรณ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ. (2560). ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล: ศึกษากรณีความผิดฐานอาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติโดยเปรียบเทียบเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธัญพงศ์ แววสง่า. (2559). มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ซึ่งกระทำโดยกลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคล (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธานี วรภัทร์. (2557). มาตรการบังคับทางอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นิรัญ อินดร. (ม.ป.ป.). เจ้าพนักงานของรัฐเรียกรับสินบน ...หนีไม่พ้น “ออกจากราชการ”. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง.
ปกป้อง ศรีสนิท. (2561). กฎหมายอาญาขั้นสูง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2 ฝ่ายพัฒนากฎหมาย. (2554). The UK’s Bribery Act 2010: มิติใหม่แหงการต่อต้านคอร์รัปชั่น. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก https://www.opm.go.th/opmportal/ multimedia/eyu/UK.pdf
อภิวรรณ โพธิ์บุญ อักษรสุวรรณ. (2543). ความผิดที่กระทำโดยนิติบุคคล: ศึกษาเฉพาะโทษที่จะลงแก่นิติบุคคล (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อัจฉรียา ชูตินันทน์. (ม.ป.ป.). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
อุทัย อาทิเวช. (2557). ทฤษฎีอาชญาวิทยากับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา. กรุงเทพฯ: วี.เจ.พริ้นติ้ง.
Airbus’ Sky High Settlement. (2020). Focus on Global Reach and Collaboration in Anti-Corruption Prosecutions. Retrieved 20 April 2021, from https://www.regulationto morrow.com/eu/airbus-sky-high-settlement-focus-on-global-reach-and-collaboration-in-anti-corruption-prosecutions
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว