แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีต่อความสำเร็จในอาชีพนักกีฬารักบี้ ทีมชาติไทย

ผู้แต่ง

  • ชลทิภา อภิรัตนานนท์ บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต
  • เฉลิมพร เย็นเยือก บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, ความสำเร็จในอาชีพ, กีฬารักบี้

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อความสำเร็จในอาชีพนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีผลต่อความสำเร็จในอาชีพนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักกีฬารักบี้ที่เป็นทีมชาติ จำนวน 400 ราย และใช้วิธีการคัดเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม โดยชุดแบบสอบถามจะถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และสถิติที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างแบบรายคู่ การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามความส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 21 – 30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 – 25,000 บาท และประกอบอาชีพรักบี้เป็นเวลา
2 – 5 ปี 2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านความทะเยอทะยาน รองลงมาคือ ด้านความกระตือรือร้น ด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง และด้านความต้องการตัดสินใจของตนเอง สำหรับข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความขยันขันแข็ง ตามลำดับ

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านอายุ และระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีความสำเร็จในอาชีพนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย กรณีศึกษา นักกีฬารักบี้ทีมชาติไทยต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับเพศ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ
มีความสำเร็จในอาชีพนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย ไม่ต่างกัน และ 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พบว่า ด้านความทะเยอทะยาน ด้านความขยันขันแข็ง มีความสัมพันธ์ต่อความสำเร็จในอาชีพนักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย กรณีศึกษา นักกีฬารักบี้ทีมชาติไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรองกาญจน์ ด่านรัตนะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพชีวิตในการทำงาน การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพของกลุ่มชายรักชาย ที่เป็นบุคลากรในหน่วยงานรัฐบาลในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

การกีฬาแห่งประเทศไทย. (2564). แผนยุทธศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จากhttps://www.sat.or.th/aboutus/

จาคุรนต์ ลิ่มหัน และภาคภูมิ รัตนโรจนากุล. (2562). แรงจูงใจในการตัดสินใจเล่นกีฬาฟุตซอลอาชีพ. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1),1-13.

ณัฏฐพงศ์ ชูทัย. (2559). ความหมายของการจูงใจและแรงจูงใจ. ค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2564, จากhttps://nuttapong.wikispaces.com

เพลินพิศ วิบูลย์กูล. (2558). แรงจูงใจ Motives. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2564, จาก http://www.bangkok.go. th/training/page/sub/5280/Book-Briefing

อนันต์ เสมรสุวรรณ. (2559). การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในนักเรียนที่ประสบความสำเร็จของนักเรียนโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันการพลศึกษา.

Cassidy, T., and Lynn, R. (1989). A Multifactorial approach to Achievement Motivation: The Development of a Comprehensive Measure. Journal of Occupational Psychology, 62(4), 301-312.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

Harris, L. C., & Ogbonna, E. (2006). Approaches to career success: an exploration surreptitious career-success strategy. Human resource management, 45(1), 43-65.

Lau, V. P., & Shaffer, M. A. (1999). Career success: the effects of personality. Career Development International, 4(4), 225-231.

McClelland, D. C. (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton Centurycrofts.

Rabideau, T. S. (2005). Effects of achievement motivation on behavior. Retrieved 20 March 2021, from http://www.personalityresearch.org/papers/rabideau.html

Seibert, S. E., & Kraimer, M. L. (2001). The Five-Factor Model of Personality and Career Success. Journal of Vocational Behavior, 58(1), 1-21.

Weiner, B. (1973). Attribution theory achievement motivation and the education process. Review of Education Research, 42(2), 205-215.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31