การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการ, การบริหารแบบมีส่วนร่วม, โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 3 โรงเรียนจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
- การเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร ที่มีเพศและวุฒิการศึกษา ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
- แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ควรส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการให้มากขึ้น ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ร่วมตัดสินใจแก้ปัญหา การมอบหมายงานในแต่ละครั้งหรือการดำเนินงานใด ๆ ต้องมีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและปรับปรุงพัฒนาแก้ไข ควรสร้างเครือข่ายทางวิชาการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
References
กาญจนา เจือบุญ. (2557). การมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ณัฐรฎา พวงธรรม. (2553). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ถวิล เกษสุพรรณ์. (2552). การศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
ทำนอง ภูเกิดพิมพ์ (2551). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬางกรณราชวิทยาลัย.
นิติกานต์ กรรมสิทธิ์. (2561). การมีส่วนร่วมของครูผู้สอนในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิติกานต์ กรรมสิทธิ์. (2561). สภาพและแนวทางพัฒนาการมีส่วนร่วมการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(2), 68-77.
โนชญ์ ชาญด้วยกิจ. (2553). การศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2551). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
พาทิพย์ ชมคำ. (2551). การมีส่วนร่วมในการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครสวรรค์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
รัตนาภรณ์ บำรุงวงศ์. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13 และ 14 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ศิลป์ชัย อ่วงตระกูล. (2552). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดการศึกษาพิเศษแบบเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
สมเดช สาวันดี. (2553). การนำเสนอรูปแบบการบริหารการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต้นแบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุทธิรา เกษมราษฎร์. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา.
Bukosky, A. E. (1999). Comprehensive high school restructucturing: Utilizing school-based management and curricular reforms to increase student achievement comprehensive restructuring. (CD-Rom), Abstract from Pro Quest-File: Dissertation Abtracts Irm: AAC9933792.
Gulick, L. & Urwick, L. (1973). The Science of Administration. New York: Columbia University
Person, J. L. (1993). An Examination of The Relationship Between Participative. Management and Perceived Institutional Effectiveness in North Carolina Community Colleges. Dissertation Abstracts International, 53(15), 1351 – A.
Short, P. M., Greer, J. T., & Melvin, W. M. (1994). Creating empowered schools: Lessons in change. Journal of Educational Research, 32(4), 38-52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว