ศักยภาพทางนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนารูปแบบของสำนักงานบัญชี ที่เป็นตัวแทนได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากร

ผู้แต่ง

  • ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • รัตนาวลี ไม้สัก คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • นิพล แก่นโกมล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ศักยภาพทางนวัตกรรม, การพัฒนารูปแบบ, สำนักงานบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางนวัตกรรมที่มีต่อการพัฒนารูปแบบของสำนักงานบัญชีที่เป็นตัวแทนได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เจ้าของสำนักงานบัญชี ผู้นำองค์กร หรือผู้บริหารของสำนักงานบัญชีที่เป็นตัวแทนได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากร โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 44 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แบบพหุถดถอย

ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพทางนวัตกรรมมีผลต่อการพัฒนารูปแบบของสำนักงานบัญชี ในระดับมากที่สุด โดยศักยภาพทางนวัตกรรมด้านการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์ อยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการเรียนรู้ และด้านกลยุทธ์ ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบของสำนักงานบัญชีภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านข้อกำหนดทางด้านจรรยาบรรณ รองลงมาคือ ด้านการติดตาม ตรวจสอบ และ ด้านการปฏิบัติงานตามลำดับ

References

กนิษฐา ปวะบุตร. (2550). ผลกระทบของศักยภาพการบริหารการเงินที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2555). รายชื่อและที่ตั้งของสำนักงานบัญชีที่ผ่านการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=22381

กรมสรรพากร. (2559). รายชื่อสำนักงานบัญชีตัวแทนที่ได้รับอนุญาตจากกรมสรรพากร. ค้นเมื่อ 2พฤษภาคม 2562, จาก http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/account/pdf/TaxAgent-List-020359.pdf

กุลฑลี เวชสาร. (2550). การวิจัยการตลาด. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ ธนปัญญานันท์. (2552). การบริหารนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: เนชั่น

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ. (2551). ทฤษฎีการบัญชี. กรุงเทพฯ: เนชั่น.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย จำกัด.

ปิยธิดา สายสุทธิ์. (2554). ผลกระทบของศักยภาพทางนวัตกรรมที่มีต่อความเป็นมืออาชีพ และความสำเร็จขององค์กรของสำนักงานบัญชีในเขตภาคกลาง (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เมธากุล เกียรติกระจาย และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ทฤษฎีการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ทีเอเอ็น เพรส.

สุนันทา เลาหนนท์. (2551). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพ ฯ: ดี.ดี.บุ๊คสโตร์.

สุรภา ไถ้บ้านกวย. (2555). การพัฒนารูปแบบสำนักงานบัญชีในประเทศไทยเพื่อรองรับกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Guan, J. & Ma, N. (2003). Innovative Capability and Export Performance of Chinese Firms. Technovation, 23(9), 737-747.

Yam, R. C. M., et al. (2004). An Audit of Technological Capabilities in Chinese Firms: Some Empirical Findings in Beijing. China. Research Policy, 33(8), 1123-1140.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31