การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเงินปันผล กับอัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กลุ่มประกันภัยและประกันชีวิต

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา อภิชัยมงคล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

เงินปันผล, อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้, อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร, ประกันภัย, ประกันชีวิต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การนำเสนอข้อมูลทางการเงินผ่านรายงานทางการเงินของบริษัทในกลุ่มธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต โดยเฉพาะข้อมูลในส่วนของอัตราการจ่ายเงินปันผล อัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร จำนวน 16 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2560 กระบวนการการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (2) การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (3) การวิเคราะห์การจ่ายเงินปันผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (4) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเงินปันผล กับอัตราส่วนความสามารถในการก่อหนี้ และอัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร

ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับอัตราการจ่ายเงินปันผลแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงาน อัตราส่วนกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม และอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนอัตราส่วนทางการเงินที่มีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับอัตราการจ่ายเงินปันผลแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ยกเว้นอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับอัตราการจ่ายเงินปันผลและมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2561). ข้อมูลรายบริษัท/หลักทรัพย์. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.set.or.th//set/commonslookup.do?language=th&country=TH

นพดล สังข์ลาย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างวงจรธุรกิจกับการจ่ายปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปาลิตา นิ่มมณี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย: กรณีศึกษาบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สิริสุดา เนียมนาค. (2556). การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเงินปันผลกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

อรทิชา อินทาปัจ. (2559). ปัจจัยที่กำหนดการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เอมจิรา เดชแพ. (2556). การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงของเงินปันผลจ่ายต่อหุ้นกับกำไรจากการดำเนินงาน และกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

moneybuffalo. (2563). ทำไมบางบริษัทมีกำไร ถึงไม่จ่าย “เงินปันผล”?. ค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.moneybuffalo.in.th/stock/บริษัท-เงินปันผล

Benjamin, J. S., et al. (2016). Family Ownership and Dividend payout in Malaysia. International Journal of Managerial Finance, 12(3), 314-334.

Benjamin, S. J., Zain, M. M., & Wahab, E. A. (2016). Political connections, institutional investors and dividend payouts in Malaysia. Pacific Accounting Review, 28(2),153-179.

Chansarn, S., & Chansarn, T. (2016). Earnings Management and Dividend Policy of Small and Medium Enterprises in Thailand. International Journal of Business and Society, 17(2), 307-328.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31