บทบาทครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ลดาวัลย์ เจริญศิริ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เตือนใจ ดลประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

บทบาทครู, ยุคดิจิทัล, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 2) เสนอแนวทางส่งเสริมบทบาทครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตดุสิต จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า
5 ระดับ และการหาค่าสถิติ โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1) บทบาทครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ในระดับมากทุกด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านเป็นแบบอย่างที่ดี (2) ด้านเทคโนโลยี (3) ด้านการใช้ภาษา/สื่อสาร (4) ด้านนักออกแบบการเรียนรู้ (5) ด้านนักตั้งคำถาม (6) ด้านผู้ควบคุมคุณภาพ (7) ด้านผู้ฝึกสอนหรือชี้แนะ (8) ด้านทำงานเป็นทีม (9) ด้านนักจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้  (10) ด้านการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามลำดับ

2) แนวทางส่งเสริมบทบาทครูในยุคดิจิทัลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า บทบาทครูในยุคดิจิทัล อยู่ในระดับมาก ผู้บริหารควรมีแนวทางในการส่งเสริมบทบาทครู ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษาเพื่อนำมาบูรณาการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรม

References

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2559). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 344-355.

วิจารณ์ พานิชม. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ใน ศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

สิดารัศมิ์ สิงหเดชาสิทธิ์ และสุชาดา บวรกิติวงศ์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(4), 695-707.

สุพรทิพย์ ธนภัทรโชติวัตร. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะครูในศตวรรษที่ 21 (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิตัล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2560). บรรยายเรื่อง “Thailand 4.0 กับอนาคตประเทศไทย”. ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์, วันที่ 3 มิถุนายน 2560.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Marc, P. (2010). Educational Technology for School Leaders. California, United States of America.

Sanrattana, W. (2013). A new paradigm for education: Case studies toward the 21st century. Bangkok: Thipayawisut.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31