การจัดทำคู่มือการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหารและเครื่องสำอาง) สำหรับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
คำสำคัญ:
การจัดทำคู่มือ, คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ, อาหารและเครื่องสำอาง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคู่มือการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหารและเครื่องสำอาง) สำหรับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ให้มีแนวทางปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในแนวทางเดียวกัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2561 ถึง มีนาคม 2562 โดยดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รวบรวมข้อมูลและทบทวนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อกำหนดเนื้อหาและรูปแบบ และจัดประชุมแบบการสนทนากลุ่ม (Focus Group) คณะทำงานและผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้แทนของกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รวม 36 คน วิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และจัดทำร่างคู่มือ 3) สร้างคู่มือโดยรวบรวมข้อมูลและเรียบเรียงให้เป็นระบบ และ 4) จัดทำคู่มือแบบรูปเล่มและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับสมบูรณ์ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งนำไปใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการส่งเสริมภารกิจการกระจายอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ผลการวิจัยพบว่า คู่มือการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหารและเครื่องสำอาง) สำหรับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีเนื้อหา 6 บท ประกอบด้วย 1) หลักการพื้นฐานในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2) ความรู้ด้านกฎหมายในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) ความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค 4) การใช้ชุดทดสอบอย่างง่าย (Test Kit) 5) แนวทางการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และ 6) แนวทางปฏิบัติด้านการบังคับใช้กฎหมายสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่
References
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือการใช้ชุดทดสอบอาหาร. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองแผนงานและวิชาการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2562). รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามแผนจัดการความเสี่ยงผลิตภัณฑ์สุขภาพ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น. (2557). การพัฒนารูปแบบและแนวทางการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กองส่งเสริมงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น. (2552). โครงการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อรับรองการกระจายอำนาจการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพประจำปี 2552. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ณธิป วิมุตติโกศล, ทวีศักดิ์ ไพรสุวรรณ, พิระภิญโญ และอุษณีย์ ทองใบ. (2562) การศึกษาสถานการณ์ และปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 39-50.
ประหยัด หงส์ทองคำ. (2526). การปกครองท้องถิ่นไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
(2553). พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565, จาก https://docs.google.com /file/d/0B0QqZeoMeRdmUTBmTGJ1NVVxczA/edit
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ (อาหารและเครื่องสำอาง) สำหรับเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2561ก). ความคืบหน้าการกระจายอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. (2561ข). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ระดับอำเภอในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว