การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2561

ผู้แต่ง

  • ปวีณา สมตระกูล สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เจตน์สฤษฏิ์ อังศุกาญจนกุล สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การป้องกันอาชญากรรม, นักศึกษา

บทคัดย่อ

ปัญหาอาชญากรรมเป็นปัญหาทางสังคม ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ดังนั้นการมีส่วนรวมของทุกภาคส่วน มีความจำเป็นในการป้องกันอาชญากรรม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม และเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2561 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ และภูมิลำเนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษา ปริญญาตรี สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 210 คน การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้ สูตรของยามาเน่ (Yamane) โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นที่ .05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และและแปล ความหมายค่าเฉลี่ย  t-test  

ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมของนักศึกษา สาขาวิชาการ บริหารงานตำรวจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปีการศึกษา 2561 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) นักศึกษาที่มี เพศ และภูมิลำเนาที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมแตกต่าง กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลที่แท้จริง เพื่อนำไปแก้ไขปัญหาต่อไป

References

จุติมา พรหมศร. (2556). ทฤษฎีหน้าต่างแตกหรือทฤษฎีกระจกแตก (Broken Windows Theory). ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2562, จาก https://www.gotoknow//www.gotoknow.org/posts/425548.

เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน. (2555). นวัตกรรมกระบวนทัศน์ การป้องกันอาชญากรรมของตำรวจไทย ในศตวรรษที่ 21. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

ดุสิตา แก้วสมบูรณ์. (2545). การมีส่วนร่วมของประชำชนในโครงการพัฒนาตำบลขององค์การบริหาร ส่วนตำบลในจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ประเสริฐ เมฆมณี. (2549). ตำรวจและกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ: พิธการ.

ปรีชา สาวม่วง. (2553). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของผู้นำชุมชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจใน เขตอาเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2551). อาชญากรรมพื้นฐานกับกระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ: โครงการส่งเสริม เอกสารวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

มีนา. (2556). ปัญหาอาชญากรรม. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2558, จาก http://meeenaja.blogspot.com/ 2013/08/blog-post_5400.html

ศิโรจน์ ผลพันธิน. (2549). การศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหาการทะเลาะ วิวาทของนักเรียนอาชีวศึกษาเอกชน (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สังคมวิทยา. (ม.ป.ป). (2562). ความไม่เป็นระเบียบของสังคม (Social Disorganization). ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2562, จาก http://www.baanjomyut.com/library/social_sciences/38.html

สุดสงวน สุธีสร. (2546). อาชญาวิทยาและงานสังคมสงเคราะห์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อังคณา เมืองแสน. (2551). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของชุมชนเมืองพัทยา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Hirschi, T. (1969). Causes of Delinquency. Berkeley: University of California Press.

Jeffery, Ray C. (1977). Crime Prevention through Environmental Design. Second Edition. Beverly Hills, CA: Sage,.

Vold, George B. and Thomas J. Bernard. (1986). Theoretical Criminology. (3rd ed.). New York: Oxford University Press.

Zimring, Franklin and Gordon Hawkins. (1973). Deterrence. Chicago: University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30