ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • ณวรีย์ ชุมวรฐายี สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • บุญวัฒน์ สว่างวงศ์ สาขาวิชาการบริหารงานตำรวจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมในการดื่มแอลกอฮอล์, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วัตถุประสงค์ที่สอง เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัย
ราชภัฎสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 392 คน โดยการสุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบบังเอิญ
ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ การทดสอบไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05  

ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเป็นนเพศชายและหญิงเท่ากัน อายุ 21 ปีขึ้นไป อยู่ชั้นปีการศึกษาที่ 4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท (2) พฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า ดื่มครั้งแรกอายุ 16-18 ปี รู้สึกไม่ชอบ ผู้ที่ดื่มด้วยครั้งแรกและปัจจุบันคือเพื่อน ปัจจุบันนิยมดื่มเบียร์ เหตุผลที่ดื่มเพราะเพื่อนชวนดื่ม ดื่ม1วัน/สัปดาห์  ดื่มช่วงหลังเลิกเรียนที่หอเพื่อน ดื่มเมื่อไปเที่ยวสังสรรค์
กับเพื่อน ๆ ซื้อจากร้านขายของชำ ขณะดื่มคือพูดคุยกัน ดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่ผสม ใช้เงินจากผู้ปกครอง
มีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง คือ 301-500บาท หลังดื่มมักรู้สึกง่วงนอน ใช้เวลาในการดื่มเฉลี่ยต่อครั้ง คือ 3-4 ชั่วโมง/ครั้ง ขณะดื่มรู้สึกสนุกสนาน ไม่เคยพบเห็นการทะเลาะวิวาทในการดื่มสุรา การดื่มแอลกอฮอล์ไม่กระทบ
ผลการเรียน ในอนาคตคิดว่าจะดื่มแอลกอฮอล์ลดลง และไม่เคยประสบอุบัติเหตุหลังการดื่มสุรา (3) ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่าปัจจัยพฤติกรรมในการดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์ต่อคณะหรือวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ยกเว้นด้านผู้ที่ร่วมดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรก ความถี่ในการดื่มแอลกอฮอล์ สถานที่ดื่มแอลกอฮอล์ ค่าใช้จ่ายในการดื่มแอลกอฮอล์ต่อครั้ง พฤติกรรมหลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ เวลาที่ใช้ในการดื่มแอลกอฮอล์เฉลี่ยต่อครั้ง ความรู้สึกขณะดื่มแอลกอฮอล์ เคยพบเห็นการทะเลาะวิวาทในการดื่มสุรา การดื่มแอลกอฮอล์มีผลกระทบกับการเรียน เคยประสบอุบัติเหตุหลังการดื่มสุรา
มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กนิษฐา ไทยกล้า.(2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่จำหน่ายและพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

กันยา สุวรรณแสง. (2544). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์อักษรวิทยา.

กุญชรี ค้าขาย. (2545).พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตนเอง. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ และคณะ. (2541). รายงานการทบทวนองค์ความรู้เรื่อง เด็ก เยาวชน และครอบครัวในประเทศไทยและข้อเสนอเชิงนโยบายและการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

นวรัตน์ เทศพิทักษ์. (2553). เครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารและรับรองห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์บริการ.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2530). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรพิมล เจียมนาคินทร์. (2539). พัฒนาการวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อการพิมพ์.

ข่าวไทยพีบีเอส. (2558). ผลวิจัยสวนสุนันทาชี้ร้านเหล้ารอบมหาวิทยาลัยใน กทม. รอบนอกน่าห่วง 5 ปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 72. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/2577

วิชัย เอกพลากร และคณะ. (2557). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สุชา จันทน์เอม และ สุรางค์ จันทน์เอม. (2521). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต.และคณะ. (2536). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธิรักษ์ ไชยรักษ์ และคณะ. (2551). พฤติกรรมการดื่มสุราของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2551 (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30