ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ ของผู้บริโภคเขตในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, แอปพลิเคชันออนไลน์, ผู้บริโภคบทคัดย่อ
บทความจากงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้า
ผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคเขตในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบผู้บริโภคในการซื้อสินค้าผ่านทาง แอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภคเขตในกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดเพื่อสอบถามการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภค
เขตในกรุงเทพมหานคร ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ มีค่าความเชื่อมมั่นเท่ากับ.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนค่าเฉลี่ยระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ ของผู้บริโภคเขตในกรุงเทพมหานครในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่างกันมีปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ไม่แตกต่างกัน
References
ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย: หลักการและแนวคิด เทคนิค การเขียนรายงาน การวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธัญญพัสส์ เกตุประดิษฐ์. (2554). ปัจจัยที่อิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ สินค้าทางอินเทอร์เน็ตของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 1(2), 21-39.
นพวรรณ มีสมบูรณ์. (2552). ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านการทางการตลาดออนไลน์บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีศึกษา นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
วรัญญา โพธิ์ไพรทอง. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริเพ็ญ มโนศิลปากร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2546). การบริหารการตลาด ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2563). จำนวนประชากร. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก https://www.bora.dopa.go.th/
Duhe, C. H. (2007). New Media and Public Relations. New York: Peter Lang.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control. (14th Global ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Kotler, P. (2011). Marketing Management: Analysis Planning Implementation and Control
(9th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall International, Inc.
pptvhd36. (2565). เปิดสถิติใช้อินเทอร์เน็ตคนไทย ปี 2020 "ช้อปเก่ง โอนเก่ง". ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565, จาก www.pptvhd36.com/news/สังคม/142614
Shiffman, L. G., & Leslie L. K. (1994). Consumer Behavior. (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว