การสร้างคุณค่าข้าวหอมมะลิของธุรกิจส่งออก

ผู้แต่ง

  • สัมฤทธิ์ แซ่เจียง สาขาการบริหารการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ปิยดา วงศ์วิวัฒน์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การสร้างคุณค่า, ข้าวหอมมะลิ, ธุรกิจส่งออก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของการสร้างคุณค่าของข้าวหอมมะลิ 2) อิทธิพลของนโยบายภาครัฐ นวัตกรรมการเก็บรักษา การตลาด และคุณภาพของข้าวหอมมะลิที่มีผลต่อการสร้างคุณค่าของข้าวหอมมะลิ และ 3) แนวทางการสร้างคุณค่าของข้าวหอมมะลิไทย ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสม การวิจัย เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือตัวแทนผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิ ประกอบด้วย กรรมการ ระดับผู้จัดการ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกข้าวหอมมะลิตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมด 194 บริษัท จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 340 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เชิงปริมาณ และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 15 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากตัวแทน 3 ภาคส่วน ผู้แทนภาครัฐ ผู้ส่งออก และผู้บริโภค การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมาน ด้วยแบบจำลองสมการโครงสร้าง และนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์บูรณาการเพื่อสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

ผลจากการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการสร้างคุณค่าของข้าวหอมมะลิโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านนวัตกรรมการเก็บรักษาเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณภาพของข้าวหอมมะลิ ด้านนโยบายภาครัฐ อยู่ที่ระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการตลาด 2) องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการสร้างคุณค่าของข้าวหอมมะลิ ได้แก่ การตลาด นโยบายภาครัฐ คุณภาพของข้าวหอมมะลิ และนวัตกรรมการเก็บรักษา ตามลำดับ และ 3) แนวทางการสร้างคุณค่าของข้าวหอมมะลิ ภาครัฐต้องส่งเสริมนวัตกรรมในกระบวนการส่งออก โดยคำนึงถึงคุณภาพที่ดีเลิศ มีอัตลักษณ์เฉพาะสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

References

กมลรัตน์ แสงจันทร์. (2551). พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อข้าวหอมมะลิบรรจุถุงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

กรมการข้าว. (2554). ยุทธศาสตร์ข้าวไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมการข้าว สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว. (2556). การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวข้าว. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2563). ภาพรวมตลาดข้าวในอาเซียน ธันวาคม (น.1-9). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2564). ภาพรวมตลาดข้าวในอาเซียน เมษายน (น.1-8). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2560). ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันวัฒนธรรมศึกษา กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

ธเนศพล ธนบุณยวัฒน์. (2560). แนวทางการพัฒนาการค้าข้าวหอมมะลิไทยในตลาดโลก. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

นักศึกษากลุ่มสิงคโปร์, สถาบันพระปกเกล้า. (2563). การเพิ่มมูลค่าข้าวหอมมะลิไทยด้วยนวัตกรรมเกษตรอินทรีย์. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2548). ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิเวศน์ ธรรมะ และคณะ. (2552). การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ: แมคกรอฮิล.

บุญมี ศิริ. (2552). การกำเนิดพัฒนาการและการสุกแก่ของเมล็ด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. (2553). โครงสร้างและระบบโลจิสติกส์ข้าวไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

พรทิพย์ ถาวงค์, สุวัฒน์ สายมายา และอดุลย์ อินทรประเสริฐ. (2556). การใช้เม็ดดูดความชื้นซีโอไลท์ ในการลดความชื้นของเมล็ดพันธุ์ข้าว. ปราจีนบุรี: กรมการข้าว.

พรรณิภา ปักโคทานัง. (2551). คุณลักษณะของข้าวที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อและพฤติกรรมการบริโภคข้าวสารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ. (2560). รายงานของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ เรื่องการจัดการข้าวโดยระบบสหกรณ์. ค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2564, จาก https://www.parliament.go.th/ ewtadmin/ewt/parliament_parcy/download/usergroup_disaster/6-16.pdf

Adam, A., Polizzi, V., Boekel, V., & Kimpe, N. D. (2008). Formation of pyrazines and a novel pyrrole in Maillard model system of 1,3-dihydroxyacetone and 2-oxopropanal. Journal of Agricultural and Food Chemistry, 56, 2147-2153.

Agariya, A. K., Johari, A., Sharma, H. K., Chandraul, U. N., & Singh, D. (2012). The role of packaging in brand communication. International Journal of Scientic & Engineering Research, 3(2), 1-13.

Alexius, A., & Vredin, A. (1999). Pricing-to-market in Swedish exports. Scandinavian Journal of Economics, 101(2), 223-239.

Armstrong, G., & Kotler, P. (2009). Marketing, an introduction. (9th ed.). NJ: Pearson Prentice Hall.

Bahri-Ammari, N. (2012). The effects of loyalty program quality on word-of-mouth recommendations intentions. World Academy of Science, Engineering and Technology, 6(4), 1002-1011.

Bairagi, S., Demont, M., Custodio, M. C., & Ynion, J. (2020), "What drives consumer demand for rice fragrance? Evidence from South and Southeast Asia". British Food Journal, 122(11), 3473-3498.

Benamar, A., Tallon, C., & Macherel, D. (2003). Membrane integrity and oxidative properties of mitochondria isolated from imbibing pea seeds after priming or accelerated aging. Seed Science Research, 13, 35-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31