รูปแบบการบริหารธุรกิจร้านขายยาที่มีประสิทธิภาพ

ผู้แต่ง

  • ปรมารัตน์ ดอนเส มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • รัชฎา ฟองธนกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • สุนทร ผจญ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, ธุรกิจร้านขายยา, ประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับนโยบายรัฐด้านเภสัชกรรม การบริหารองค์กรร้านขายยา การจัดการยาและเวชภัณฑ์ การให้บริการทางเภสัชกรรม และประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจร้านขายยา
2) นโยบายรัฐ ด้านเภสัชกรรม การบริหารองค์กรร้านขายยา การจัดการยาและเวชภัณฑ์ และการให้บริการทางเภสัชกรรม ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจร้านขายยา และ 3) รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจร้านขายยา เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าของร้านขายยาที่จดทะเบียน ในกรุงเทพมหานคร รวมประชากร 3,418 ร้าน คำนวณโดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิที่มีสัดส่วน แล้วเลือกกลุ่มตัวอย่าง 1 คน จาก 1 ร้านขายยา สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิที่มีสัดส่วน จำนวน 325 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ ตามหลักการวิเคราะห์สถิติประเภทพหุตัวแปรสมการโครงสร้าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างมีสัดส่วน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้าง สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง จำนวน 15 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายรัฐด้านเภสัชกรรมมีความมีประสิทธิภาพที่สูงทุกด้าน ทั้งการบริหารองค์กรร้านขายยา, การจัดการยาและเวชภัณฑ์, และประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจร้านขายยา 2) นโยบายรัฐด้านเภสัชกรรม ส่งผลต่อการบริหารองค์กรร้านขายยา, ประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ, และการจัดการยาและเวชภัณฑ์ 3) ผู้ประกอบการธุรกิจร้านขายยาต้องปฏิบัติตามนโยบายรัฐด้านเภสัชกรรม, ปรับตัวตามกฎหมายที่มีการพัฒนา เลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารองค์กร

References

กิตติ พิทักษ์นิตินันท์. (2562). รายงานระบบยาของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2564, จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5100/Thai-drug-system-kitti-pitacnitinan.pdf?sequence=1&isAllowed=y

กิตติศักดิ์ ไท้ทอง. (2562). โอกาสและความท้าทายในการจัดซื้อยาตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560: กรณีศึกษาจังหวัดสกลนคร. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(1), 259.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. (2563). เกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการส่งเสริมการขายยาของประเทศไทย พ.ศ. 2559 และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

ฉัตรชัยแนวพญา. (2558). การบริหารจัดการองค์การภาครัฐที่ประสบความสำเร็จตามหลักการบริหารทางตะวันตกและตามหลักการทางพระพุทธศาสนา. Journal of Nakhon Ratchasima College, 9(2), 25-26.

ชวลิต เกียรติโพธา. (2556). รูปแบบและกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจร้านขายยาบนถนนวัชระพล เขตบางเขน กรุงเทพ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชะอรสิน สุขศรีวงศ์. (2559). คัดเลือกยาคุณภาพเข้าโรงพยาบาลทำกันอย่างไร. ค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/329/วิธีคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล/

โชษิตา เปสตันยี และ สรียา วิจิตรเสถียร. (2019). ปัจจัยของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไร กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. Suranaree J. Soc. Sci, 13(1), 90.

ณรงค์ กุลนิเทศ และสุดาวรรณ สมใจ. (2558). ระเบียบวิจัยขั้นสูงและการออกแบบการวิจัย. กรุงเทพฯ: มาสเตอร์พริ้นท์สามเสน.

ดวงฤดี ดอกคำ และคณะ (2560). คู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงาน: การบริหารคลังยา และเวชภัณฑ์. ค้นเมื่อ 27

ธันวาคม 2566 จาก https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER29/DRAWER083/ GENERAL/DATA0000/00000476.PDF

ทรงศักดิ์ วิมลกิตติพงศ์ และ เมษยา ปานทอง (2558). แนวทางการจัดการสู่มาตรฐานวิธีปฏิบัติติ ทางเภสัชกรรม.ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564, จาก https://drug.fda.moph.go.th/media.php?id=543001067 651211264&name=GPP_Guideline_final29Oct2015.pdf

นพมาศ อัครจันทโชติ และคณะ. (2561). การจัดกลุ่มธุรกิจร้านยาประเภท ข.ย.1. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(2), 289-306.

นรินทร์ ตันไพบูลย์. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564-2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/ Wholesale-Retail/Modern-Trade/IO/io-modern-trade-21

ปรางทิพย์ ล้อดงบัง และคณะ. (2559). ผลการให้บริบาลทางเภสชักรรมตามแนวทางการรักษา ผู้ป่วยไมเกรนในร้านยามหาวิทยาลัย : การศึกษานำร่อง. วารสารเภสัชกรรมไทย, 8(2), 250.

ปราณี วัฒนาศรีโรจน์ (2564). มาตรฐานคุณภาพของร้านขายยา. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2564, จาก https://moombhesaj.com/goodstandard/

ปรุฬห์ รุจนธำรงค์. (2560). ความคืบหน้าการจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียว. วารสารยาสมาคมร้านขายยา ประเทศไทย. ฉบับมกราคม – กุมภาพันธ์, 37-40.

มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย. (2562). การใช้ยาสมเหตุสมผลในร้านยา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: คณะทำงานวิชาการเพื่อส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในร้านยา.

วฤณ ปัญญาทิยกุล. (2561). แผนธุรกิจ ร้าน “มากกว่ายา” (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วินัย สุขศรี. (2564). การบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. ค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2564, จาก http://203.157.172.1/computer/web51v2/filenewspay/2302180 22338.pdf

วินิต อัศวกิตวิรี. (2557). กฎกระทรวง การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.

วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์. (2563). โอกาสและการพัฒนาสาหรับธุรกิจร้านยาหลังการระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสาร Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences, 15(2), 95-107.

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องเภสัชศาสตร์. (2564) พัฒนางานอย่างไร ให้ได้ใจคนทำงาน. ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566 จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). การประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบเภสัชกรรม (Chief Pharmacy Officer: CPO). ค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2566, จาก https://dmsic. moph.go.th/index/detail/7950

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมเภสัชกรรมชุมชน. (2564). มาตรฐานการบริการด้านเภสัชกรรม. ค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2564, จาก https://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/eyoa-3

สถาบันพัฒนาและสนับสนุน SME (2564) 7 กลยุทธ์เด็ดเปิดร้านขายยาอย่างไรไม่ให้เจ๊ง. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2564, จาก https://taokaemai.com/7- -กลยุทธ์เด็ดเปิดร้านขาย/#

สำนักงานรับรองร้านยาคุณภาพ สภาเภสัชกรรม. (2564). การบริบาลเภสัชกรรมชุมชนยุคใหม่. ค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2564, จาก https://pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail& view=detail&itemid=636&catid=31

องค์การเภสัชกรรม. (2563). มาตรฐานการให้บริการร้านขายยา ปี 2563. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2564, จากhttps://www2.gpo.or.th/LinkClick.aspx?fileticket=3ndDPeCzi9g%3D&tabid=430

อังศุรัตต์ ยิ้มละมัย และคณะ. (2563). มาตรการในการควบคุมกำกับร้านขายยาแผนปัจจุบันที่อย่รูะหว่างกระบวนการพิจารณาดำเนินคดี. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(3), 605.

อุดลย์ กองสัมฤทธิ์. (2557). การบริหารจัดการที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโลโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Dale Ernest. (1968). Management: Theory and Practice. New York: McGraw-Hill Book Company.

Grace, J. B. (2008). Structural equation modeling for observational studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Koontz H. D. & O’Donnell, C. (1972).Principles of Management: An Analysis of managerial functions. New York: McGraw-Hill.

Kotler, P & Armstrong, A. (2012). Principles of marketing. England: Pearson Prentice hall.

Rajasthan. (2010). Drug Store Management & Rational Drug Use. State Institute of Health & Family Welfare, SIHFW: an ISO:9001:2008 certified institution.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31