แนวทางการบริหารการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ชัยชาญ แก้วชิงดวง สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การจัดการศึกษาเรียนร่วม, ผู้บริหารสถานศึกษา, อาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) จังหวัดเพชรบุรี และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตร อาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา) จังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพมีการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแนวทางการบริหารการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 8 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพการบริหารการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา) จังหวัดเพชรบุรี จำแนกโดยรวมและรายด้านพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน และ 2) แนวทางการบริหารการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตร อาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย(ทวิศึกษา) จังหวัดเพชรบุรี พบว่า การจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิศึกษา ควรได้รับการมีส่วนร่วมและการประสานงาน โดยเฉพาะการแต่งตั้งผู้มีประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญ หรือคณะกรรมการที่เหมาะสม ควรมีการกำหนดรายละเอียดการดำเนินการ ปฐมนิเทศผู้เรียน การประชุมปรึกษาเพื่อหาข้อปฏิบัติและแนวทางในการบริหารการจัดการศึกษาทั้งโรงเรียนมัธยม หน่วยงานท้องถิ่น ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจัดทำคู่มือนักศึกษาในหลักสูตรนี้ เพื่อความเข้าใจ ทั้งผู้สอนและนักเรียน รวมถึงสามารถตอบสนองความต้องการของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม

References

เกล้าฟ้า ทองสนธิ. (2557). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา การประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) รอบที่ 3 โรงเรียนสังกัดเทศบาลในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

เชี่ยวชาญ ดวงใจดี. (2562). แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการหลักสูตรทวิศึกษาการเรียนร่วมอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 581-595.

ชลธาร สมาธิ. (2560). การพัฒนาคู่มือการบริหารจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) ของโรงเรียนสบเมยวิทยาคม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2546). การบริหารวิชาการ. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

รัตนา จันทร์รวม. (2560). นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงอาชีพ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. ค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564 จาก http://www.onec.go.th/index.php/page/view/Outstand/2532

สมเดช ดอกดวง. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารโครงการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) กรณีศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 32 กับวิทยาลัยสารพัดช่างจังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล หลักสูตรพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ.

Kim, M. (2013). Focusing on the Future, Experience from a Career-Related Program for High-Ability Students and Their Parents. Gifted Child Today, 36(1), 27-34.

Mehrotra, S., et al. (2015). Vocational training in India and the duality principle: A case for evidence-based reform. Prospects, 45(2), 259 - 273.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31