ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (Drone) มาใช้ในเกษตรแปลงใหญ่ กรณีศึกษา เกษตรแปลงใหญ่ประเภทนาข้าวในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ศรุต อัศวกุล คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จรวย สาวิถี คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สมหมาย ขันทอง คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

เกษตรแปลงใหญ่, อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก, ประสิทธิภาพการเกษตร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก
มาใช้ในเกษตรแปลงใหญ่ประเภทนาข้าว 2) ศึกษาความเป็นไปได้ของการนำอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กมาใช้ในเกษตรแปลงใหญ่ และ 3) นำเสนอแนวทางเชิงนโยบายในการนำอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กมาใช้ในเกษตรแปลงใหญ่ เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน และเก็บข้อมูลผ่านการใช้เครื่องมือแบบสอบถามกับผู้ประกอบการ
และบุคลากรซึ่งประกอบกิจการเกษตรแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามจำนวน 13 อำเภอ โดยผู้ให้ข้อมูลจากการศึกษาเชิงคุณภาพ หรือผู้ใช้สัมภาษณ์นั้นมีจำนวน 10 ราย ส่วนกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาเชิงปริมาณนั้น ผู้ศึกษาโดยไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน ด้วยลักษณะของกลุ่มตัวอย่างข้างต้นซึ่งมีความไม่แน่นอน
ผู้ศึกษาจึงเลือกใช้สมการการหากลุ่มตัวอย่างซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากรของคอแครน (Cochran) และได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ข้อมูลเชิงปริมาณเท่ากับ 385 ราย

ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพล ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านความง่ายต่อการใช้งานเทคโนโลยีอากาศยาน (2) ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (3) ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์เทคโนโลยีอากาศยาน  และ (4) ปัจจัยด้านการตั้งใจใช้ประโยชน์ต่อการใช้งานเทคโนโลยี 2) ความเป็นไปได้
มีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ (1) ประสิทธิภาพการทำเกษตรที่เพิ่มขึ้นเนื่องจาก มีการควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ที่มาจากการคำนวณอย่างแม่นยำ (2) สามารถนำมาทดแทนการใช้แรงงานในภาคการเกษตรและได้ผลด้านประสิทธิภาพมากกว่า (3) สามารถประหยัดเวลา เนื่องจากอากาศยานไร้คนขับมาใช้กับการเกษตรจะดำเนินการผ่านด้านบนอากาศ ส่งผลให้ไม่มีอุปสรรคด้านภาคพื้นดังที่เกิดจากการใช้แรงงาน 3) แนวทางเชิงนโยบาย คือการร่วมมือกับหน่วยงานด้านเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์เทคโนโลยีมาใช้ให้ได้ผล

References

กองพัฒนาสหกรณ์ภาคการเกษตร และกลุ่มเกษตรกร. (2562). การส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ในระบสหกรณ์กรมส่งเสริมสหกรณ์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ทวียศ ศรีเกตุ. (2558). โดรนกับการเดินอากาศของกฎหมายไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

มัลลิกา บุนนาค และคณะ. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วีร์สุดา ศรีจันทร์ และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีปุ๋ยสั่งตัดของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ในอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565 เมื่อ https://www.stou.ac.th/thai/grad_ stdy/Masters/ฝสส/research/Proceedings_2563/FullPaper/ST/Oral/O-ST%20006%20นางสาววีรสุดา%20ศรีจันทร์.pdf

ศศิพร เหมือนศรีชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ERP Software ของผู้ใช้งานด้านบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี, 8(22), 38-51.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศลาดกระบัง, 1(1), 1-29.

สาลี่ ชินสถิต และคณะ. (2551). ศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพืชของเกษตรกร. กรมวิชาการเกษตร. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2565 https://www.doa.go.th//research/attachment.php?aid=1560

หลักเกณฑ์การขออนุญาต และเงื่อนไขในการบังคับ หรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132. (ตอนที่ 86 ง), หนา 6-12.

อนุรักษ์ ไกรยุทธ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมโรงแรมในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบันฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3d ed.). New York: John Wiley and Sons Inc.

Venkatesh, V., Morris, M. G., Davis, G. B., & Davis, F. D. (2003). User acceptance of information technology: Toward a unified view. MIS Quarterly, 27(3), 425–478.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31