รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ศุภวรรณ วงศ์คำปัน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อำนวย ทองโปร่ง มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • อัมเรศ เนตาสิทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
  • สำเนา หมื่นแจ่ม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารเชิงกลยุทธ์, โรงเรียนปฐมวัย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาการบริหารโรงเรียนปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาการบริหารโรงเรียน 1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบนที่ผ่านการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา รอบสาม จำนวน 13 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 13 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย ในเขตภาคเหนือตอนบนที่ยังไม่ได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา รอบสาม จำนวน 73 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้างาน และคณะกรรมการสถานศึกษา รวม 219 คน โดยใช้แบบสอบถาม ขั้นที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนปฐมวัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา ด้านการบริหารสถานศึกษา และการจัดการศึกษาปฐมวัย จำนวน 10 คน โดยการประชุมกลุ่มและแบบประเมินการพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยการตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความสอดคล้องและการนำไปใช้ของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนปฐมวัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม
กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 86 คน

ผลการวิจัยพบว่า

1) โรงเรียนมีการบริหารจัดการที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับบริบทของโรงเรียนต้นสังกัด ชุมชนและสภาพการดำเนินงานที่มากที่สุดถือว่าเป็นจุดแข็งในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารงานทั่วไป ได้แก่การวิเคราะห์ ออกแบบโครงสร้างการทำงานตามปริมาณงาน ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของโรงเรียน ด้านการบริหารงานวิชาการ ได้แก่การจัดกิจกรรม โครงการที่สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียนและความต้องการของชุมชน ด้านการบริหารงานงบประมาณ ได้แก่การสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานอื่นและนำมาใช้ได้ตรงกับวัตถุประสงค์ ด้านการบริหารงานบุคคล ได้แก่การส่งเสริม สนับสนุนให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน

2) การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่ามีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. วิสัยทัศน์ 2. พันธกิจ 3. กลยุทธ์ 4. แนวทางการพัฒนา

3) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ความสอดคล้อง และการนำไปใช้ โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 96.16 ค่า SD อยู่ที่ 0.42 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

เกสรี แจ่มสกุล. (2551). การนำเสนอยุทธศาสตร์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเทพศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณัฐฐินันท์ พราหมณ์สังข์. (2550). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ของประสิทธิผลในการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้อำนวยการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทรงวุฒิ นาคทอง. (2550). การประเมินผลการบริหารงานตามหลักยุทธศาสตร์การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พศิน แตงจวง. (2552). สภาพความพร้อมในการโอนถ่ายสถานศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบน (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภิญโญ มนูศิลป์. (2551). ปัจจัยการพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อความประสิทธิผลของทีมโรงเรียนสังกัดส านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุภามณ จันทร์สกุล. (2558). ยุคสมัยของการประเมินผลและแนวคิดทฤษฎีของนักประเมิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 8(1), 68-79.

สมโภช พรหมวิเศษ. (2552). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารแบบมีส่วนร่วม ขององค์การบริหารส่วนตำบลมะลวน อำเภอพูนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย. (2560, 20 กรกฎาคม). การจัดการท้องถิ่น. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์ ปีที่ 64 ฉบับที่ 44.

สุวิมล ว่องวานิช. (2560). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Austin, G. E. & Reynolds, D. (1990). Managing for improved school effectiveness: An international survey. School Organization, 10(2/3), 167-178.

Baskett. (1992). Management Meeting New Challenges. Upper Saddle River N.J.: Prentice Hall.

Guskey,T. R. (2000). Evaluation professional development. California: A sage.

Mohiemang, I. L. (2008). Effective school and learners’ achievement in Botswana secondary school: An Education Management Perspective (Doctoral Dissertation). South America: The University of South America.

Sergiovanni, Thomas J. (1991). The Principalship a Reflective Perspective. (2nd ed). Boston: Allyn Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31