ความสำเร็จของยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • มยุรภัสส์ พัชรทรัพย์ไพศาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อัครมณี สมใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความสำเร็จ, ยุทธศาสตร์การพัฒนา, เทศบาลนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อความสำเร็จของยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำเร็จของยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากประชาชนในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จำนวน 384 ราย วิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ด้วยค่าสถิติที ในการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่าง 2 กลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ในการเปรียบเทียบข้อมูลตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป  ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสำเร็จของยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา ทั้ง 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ด้านการยกระดับขีดความสามารถในการให้บริการอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ด้านการพัฒนาสังคมน่าอยู่อย่างมีดุลยภาพ และด้านการเสริมสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ ตามลำดับ และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จ ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นเพียงปัจจัยเดียวคือผู้มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีความเห็นด้วยในด้านการพัฒนาสังคมน่าอยู่อย่างมีดุลยภาพ มากกว่าผู้มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

References

เทศบาลนครนครราชสีมา. (2562). แผนพัฒนาเทศบาลนครนครราชสีมา พ.ศ. 2561-2565. นครราชสีมา: สำนักปลัดเทศบาล.

เทศบาลนครนครราชสีมา.(2563).ประวัติความเป็นมา.ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2563,จาก https://www.koratcity.go.th/page/history

ประมวล เภตรา. (2550). ความคิดเห็นของคณะกรรมการชุมชนต่อการพัฒนาของเทศบาลตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ประยูร กาญจนดุล. (2545). การจัดระเบียบการปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตยสภา, 27(1), 30-31.

Herzberg, F., et al. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

McClelland, D.C. (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton-Century-Crofts.

Murray, H.H. (1938). Explorations in personality. New York: Oxford University Press.

Weiner, B. (1973). Theory of motivation. Los Angeles: California Rand McNally.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31