ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนนทบุรี
คำสำคัญ:
ความต้องการ, สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนนทบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนนทบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกลุ่มประชากรตัวอย่างคือผู้สูงอายุที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทยในเขตเทศบาลนคร จำนวน
381 ราย โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติพรรณนา การทดสอบสถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ระดับความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครนนทบุรี ทั้ง 6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเรียงลำดับเป็นรายด้านตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการแก้ปัญหาความยากจนและด้อยโอกาส รองลงมาคือ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านที่อยู่อาศัย ด้านความมั่นคงทางสังคมและการคุ้มครอง ด้านนันทนาการ และด้านการศึกษา 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ แตกต่างกันทุกด้าน
References
เกษม แก่นบุญ. (2552). แนวทางในการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหนองบอน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เทศบาลนครนนทบุรี. (2562). นครนนทบุรี: เมืองเพื่อผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาลนครนนทบุรี. นนทบุรี: เทศบาลนครนนทบุรี.
เทศบาลนครนนทบุรี. (2563). พื้นที่ประชากร และจำนวนบ้านในเขตเทศบาลนครนนทบุรี. ค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2563, จาก https://www.nakornnont.go.th/content/general
นัฏกานต์ แสงพิทักษ์. (2555). ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร จังหวัดชลบุรี. (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิ่มนวล อยู่สบาย. (2554). ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลูกกุ้ง จาดเมือง. (2560).ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนา อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม.
ศุภวจี ภาษิตานนท์.(2560).การจัดสวัสดิการสังคมด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุของกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษาเขตบางแค (การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมพิศ มีสุข. (2554). การศึกษาความต้องการเกี่ยวกับการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุในตำบลห้วยสำราญ อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 23. วันที่ 23 - 24 ธันวาคม 2554. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
สายสวาท เภตราสุวรรณ. (2542). ความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ: ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุรกุล เจนอบรม. (2541). วิสัยทัศน์ผู้สูงอายุและการศึกษานอกระบบสำหรับผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: นิซินแอดเวอร์ไทยซิ่งกรุ๊พ.
Best, J. W. (1997). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว