ความต้องการเครื่องมือแพทย์ และปัจจัยในการผลิตเครื่องมือแพทย์ เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
คำสำคัญ:
ปัจจัยในการผลิต, เครื่องมือแพทย์, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการเครื่องมือแพทย์ที่ต้องการเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการผลิตเครื่องมือแพทย์เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ แพทย์ พยาบาล เจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉิน และนักเทคนิคการแพทย์ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในเขตจังหวัดชัยภูมิ 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลชัยภูมิ โรงพยาบาลภูเขียว และโรงพยาบาลแก้งคร้อ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์แบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า 1) เครื่องมือแพทย์ที่ต้องการเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มี 3 ประเภท ได้แก่ (1) เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ชนิดพกพาหรือหิ้วถือ (2) อุปกรณ์ช่วยฟังหรือเครื่องช่วยฟังระบบดิจิตอล และ (3) อุปกรณ์ข้อเข่าขาเทียม 2) ปัจจัยในการผลิตเครื่องมือแพทย์เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย (1) วัสดุที่ใช้ผลิตเครื่องมือ (2) ขนาดของเครื่องมือ และ (3) ความสะดวกในการใช้เครื่องมือ ดังนั้น บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงควรส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่มีคุณภาพให้สอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริง อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุขของประชาชนชาวไทยต่อไป
References
กองบรรณาธิการ. (2559). อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย ติดปีกทะยานสู่อาเซียน. ค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2565,จาก http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/tn230a_p04-8.pdf
ประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์. (2559). ความต้องการของแพทย์ ผู้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์.บันทึกคำกล่าวแสดงความคิดเห็นในการจัดสัมมนา เรื่องมาตรฐานเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ไทยในอาเซียนปี 2015. ค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2565,จาก http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php? id=1718#.VvyWUZx97IU
ปิยะสกล สกลสัตยาทร. (2559). นโยบายกระทรวงสาธารณสุขช่วยชาวสวนยาง จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ที่มียางพาราเป็นวัตถุดิบสำคัญมากขึ้น. ค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565,จาก http://www.hfocus.org/ content/2016/ 01/11516
วงการแพทย์. (2559). ความต้องการของแพทย์ ผู้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์.ค้นเมื่อ 19 เมษายน 2565, จาก http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php?id=1718#.VvyWUZx97IU
วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์. (2559). ความต้องการของแพทย์ ผู้ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์.บันทึกคำกล่าวแสดงความคิดเห็นในการจัดสัมมนา เรื่องมาตรฐานเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ไทยในอาเซียนปี 2015. ค้นเมื่อ 21พฤษภาคม2565, จาก http://www.wongkarnpat.com/viewpat.php? id=1718#.VvyWUZx97IU
สุรินทร์ บำรุงผล. (2553). การคาดการณ์ประมาณกำลังคนและยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคน ด้านการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว