ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาล ตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • นัสวิภา เจริญฐิติวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี 2) ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความคิดเห็นเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิงที่มีรายชื่อในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลตำบลท่าม่วง จำนวน 332 คน โดยการสุ่มตัวอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติแบบ T - test, F - Test และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลตำบลท่าม่วง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านรายได้ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครอง ด้านที่พักอาศัย และด้านนันทนาการ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่มีผลต่อความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพอนามัย ด้านรายได้ ด้านที่พักอาศัย ด้านนันทนาการ ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครอง และด้านการสร้างบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

เกตุษรา ศรีสุข. (2557). ได้ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ขวัญดาว กล่ำรัตน์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตภูมิภาค ตะวันตกของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จิรันดร วิกสูงเนิน. (2553). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

ชมพูนุช พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงาน เลขานุการวุฒิสภา.

ชูศักดิ์ ตันวงศ์เลิศ. (2556). ความพึงพอใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมแก่ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอ ท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

นันทนา อยู่สบาย. (2557). ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในองค์การบริหารส่วนตำบลศีรษะจรเข้นอย อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปรากา (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุษยา พาสุกรี. (2560). การบริหารจัดการงานสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล เมืองอโยธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

พระครูภัทรปัญญาคุณ (เวียง แซ่อุ้ย). (2561). ความต้องการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิชชาภา มณีวัฒน์. (2558). ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (การศึกษาปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ และศิริวรรณ ศิริบุญ. (2553). ประชากรสูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.

วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2552). การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรู้ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2545-2550. กรุงเทพฯ: ทีคิวพี.

สมศักดิ์ ศรีสันติสุข. (2556). สังคมวิทยาชุมชน: หลักการศึกษาวิเคราะห์และปฏิบัติงานชุมชน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สรวิชญ์ ภูมิศิริ. (2550). การพัฒนาและการเสริมสร้างบทบาทภารกิจการดูแลผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบลนาดินดำ อำเภอเมือง จังหวัดเลย (การศึกษาอิสระรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สายสวาท เภตราสุวรรณ. (2552). ความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ: ศึกษาเฉพาะกรณี จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice–Hall.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Likert, R. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.

Yamane, T. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.

William J. S., & Sly, D. (1992). Economic aspects of structural change in the older population of the United States: 1982-2020. New York: Academic Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31