ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
กระบวนการตัดสินใจ, คอนโดมิเนียม, ภาพลักษณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาระดับกระบวนการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ในกรุงเทพมหานคร ส่วนประสมทางการตลาด ภาพลักษณ์ และความภักดีต่อตราสินค้า และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประชากรในการวิจัยคือผู้ซื้อคอนโดมิเนียมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร ส่วนประสมทางการตลาด ภาพลักษณ์ และความภักดีต่อตราสินค้า อยู่ในระดับมาก และ 2) ภาพลักษณ์ มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครมากที่สุด รองลงมาคือ ความภักดีต่อตราสินค้า และส่วนประสมทางการตลาด
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณภัทร ฟูเกียรติ. (2561). แรงขับเคลื่อนการแข่งขันที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสำเร็จ ในการดำเนินงานของธุรกิจคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธงชัย ชูสุ่น. (2556).ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อคอนโดมิเนียม (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
นฤตย์อร ศรีคงแก้ว. (2558). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนองานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 89-101.
บุริม โอทกานนท์. (2553). CEM-การตลาดเชิงประสบการณ์.กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
เพ็ญประภา ทาใจ. (2556). ปัจจัยการตลาดเชิงบูรณาการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล.วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(4), 508-524.
รัตนาวดี ศิริทองถาวร. (2546). การประชาสัมพันธ์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริลักษณ์ เพชรภา. (2557). การตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวบริเวณชานเมืองของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2557). ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2565, จาก https://www.onde.go.th/view/1
อรอุมา ไชยเศรษฐ. (2551). ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยพายัพในทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Kotler, P. (2003). Marketing management. (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว