พุทธวิธีในการเผชิญโลกธรรม

ผู้แต่ง

  • พระมหาณัฐพงษ์ นาคถ้ำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • จันทร์ธิภา แสวงทรัพย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, โลกธรรม 8, ปรโตโฆสะ, โยนิโสมนสิการ

บทคัดย่อ

บทความนี้ผู้เขียนได้ค้นคว้าหลักพุทธธรรมที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่ออยู่กับโลกธรรม 8 ในปัจจุบัน ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ สรุปผลที่ได้คือการใช้โยนิโสมนสิการ คือการไตร่ตรองอย่างมีวิจารณญาณ การใช้ขันติคือความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบ การใช้ปัญญาพิจารณาหาความจริงเพื่อทำความเข้าใจในความจริงของชีวิตและโลก พิจารณาให้เห็นไตรลักษณ์และที่สำคัญคือจะต้องมีปรโตโฆสะ คือกัลยาณมิตรที่คอยชี้ทาง แนะนำ ตักเตือน เมื่อต้องประสบกับโลกธรรม ในครั้งพุทธกาลพระพุทธองค์ทรงเน้นมาตลอดคือ การดำรงจิตตั้งมั่นไม่ให้หวั่นไหว โดยใช้โยนิโสมนสิการในการพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงเกี่ยวกับโลกธรรมนั้นโดยมีพระพุทธองค์ทรงเป็นปรโตโฆสะ และเป็นยอดแห่งกัลยาณมิตรคอยให้คำแนะนำสั่งสอนตักเตือนแก่พระสาวก อุบาสก อุบาสิกา เมื่อเทียบกับสภาพการณ์ปัจจุบันของคนยุคสมัยใหม่ค่อนข้างเข้าใจธรรมะอย่างผิวเผินและไม่ได้นำธรรมะไปปฏิบัติจริง จึงมีความแตกต่างกันกับยุคสมัยพระพุทธกาลโดยสิ้นเชิง ทั้งที่โลกธรรม 8 เปรียบเสมือนแสงสว่างแห่งชีวิตเป็นบริบทที่ล้ำค่า ที่จะนำทางให้เข้าใจวิถีชีวิตและรู้จักการใช้ชีวิตที่ควรเป็นคือการอยู่กับปัจจุบันโดยมีความระลึกได้อยู่เสมอถึงความไม่ประมาทและมีสติหยั่งรู้ตลอดเวลา อันจะนำมาซึ่งความเป็นปกติในการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะมีสิ่งใดมากระทบก็ให้ถือเสียว่าสิ่งนั้นคือโลกธรรม 8 หากทุกคนมีความเข้าใจในโลกธรรม 8 อิสรภาพทางใจย่อมเกิดขึ้นกับทุกคน

References

ปรุตม์ บุญศรีตัน. (2552). หลักพระพุทธศาสนา. เชียงใหม่: มรดกล้านนา.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพฯ: วัดราชโอรสาราม.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. (สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง). พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). พิมพ์ครั้งที่ 11.กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2530). พัฒนาคน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระศรีวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2530). การพัฒนาจิต. กรุงเทพฯ: มหามกฎุราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วศิน อินทสระ. (2519). หลักคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา (พุทธปรัชญาเถรวาท). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโณ). (2553). ธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช.

อภิชาติ พรสี่. (2556). การศึกษาวิเคราะห์วิธีคิดเพื่อบรรเทาทุกข์ในพระพุทะศาสนาเถรวาท (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31