ความแปลกใหม่ของสินค้าที่พัฒนาจากวัตถุดิบอันเป็นภูมิปัญญาประจำท้องถิ่น: กรณีศึกษาข้าวเกรียบสมุนไพรประจำท้องถิ่นของชาวชุมชนสระแจง อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ปรรณวัฒน์ ชูวิเชียร วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • หทัยพันธน์ สุนทรพิพิธ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พาโชค เลิศอัศวภัทร วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ภัทรวิทย์ อยู่วัฒนะ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นิมิตร พลเยี่ยม วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความแปลกใหม่, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ทัศนคติ, ความตั้งใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างความแปลกใหม่ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลโดยรวมระหว่าง ความแปลกใหม่ ทัศนคติ และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจและพรรณนา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์สินค้าที่ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวอย่างจำนวน 400 คน วิเคราะห์โดยสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยได้ดังนี้

ผลทดสอบสมมุติฐานสำหรับผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ทั้งอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลโดยรวม พบว่าระดับความรู้สึกแปลกใหม่ของผู้บริโภคมีอิทธิพลทางตรงต่อเชิงบวกต่อทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าที่ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ยอมรับสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีค่า p-value เท่ากับ 0.001 โดยมีค่าน้ำหนักปัจจัยเท่ากับ 0.812 ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าระดับของความรู้สึกแปลกใหม่ของสินค้ายิ่งมีมากก็จะยิ่งทำให้ระดับทัศนคติของผู้บริโภคเพิ่มสูงมากขึ้น ระดับความรู้สึกแปลกใหม่ของผู้บริโภคมีอิทธิพลทางตรงต่อเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าที่ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการทดสอบพบว่าปฏิเสธสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีค่า p-value เท่ากับ 0.946 โดยมีค่าน้ำหนักปัจจัยเท่ากับ -0.008 ซึ่งไม่สอดคล้องกับวรรณกรรมที่ได้ทบทวนมา และระดับทัศนคติเชิงบวกของผู้บริโภคมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อระดับความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าที่ผสมผสานด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการทดสอบพบว่าปฏิเสธสมมติฐานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 มีค่า p-value เท่ากับ 0.001 ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่ายิ่งระดับทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยิ่งมีมากก็จะยิ่งทำให้เกิดความต้องการซื้อ ดังนั้นแล้วกลยุทธ์ทางการตลาดที่ชุมชนควรดำเนินการคือเน้นที่การเพิ่มระดับความชื่นชอบและทัศนคติเชิงบวกต่อสินค้าข้าวเกรียบในชุมชน

References

งามพิศ สัตย์สงวน. (2558). มานุษยวิทยากายภาพ: วิวัฒนาการทางกายภาพและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐธยาน์ ภัทรพิเศษวงศ์. (2556). โมเดลสมการโครงสร้างของผลการดำเนินงานระบบโลจิสติกส์และ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Abdullah, Q. A. & Yu, J. (2019). Attitudes and Purchase Intention towards Counterfeiting Luxurious Fashion Products among Yemeni Students in China. American Journal of Economics, 9(2), 53-64.

Bollen, K. A. (1989). Structural equations with latent variables. New York: John Wiley & Sons.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of Marketing Research, 18(1), 39–50.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. and Anderson, R. E. (2010) Multivariate Data Analysis. (7th Ed.). New York: Pearson.

Howard, D. J., & Gengler, C. (2001). Emotional contagion effects on product attitudes. Journal of Consumer Research, 28(2), 189–201.

Kuo-Kuang Fan and Ying Zhou, (2020). The Influence of Traditional Cultural Resources (TCRs) on the Communication of Clothing Brands. Sustainability, 12(6), 2379.

Mostaque Ahmed Zeba and Anushe Zebal. (2020). Success Factors of Local Retail Apparel Clothing Brands in a Southeast Asian Market. International Journal of Marketing Studies, 12(3), 52-64.

Qin, Z., Song, Y., Tian, Y. 2019. The Impact of Product Design with Traditional Cultural Properties (TCPs) on Consumer Behavior Through Cultural Perceptions: Evidence from the Young Chinese Generation. Sustainability, 11(426), 1-17.

Unger, L. S. & Kernan, J. B. 1983. On the Meaning of Leisure: An Investigation of Some Determinants of the Subjective Experience. Journal of Consumer Research, 9(4), 381-392.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31