รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาด ของธุรกิจออนไลน์
คำสำคัญ:
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, การสื่อสารการตลาด, ธุรกิจออนไลน์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ และ 2) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์เวชสำอาง จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 10 คน และผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารการตลาด การตลาดออนไลน์ ผู้ดูแลระบบของแพลตฟอร์มที่มีชื่อเสียงและกลุ่ม Youtuber จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
ผลวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดของธุรกิจออนไลน์ ค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัล รองลงมาได้แก่ ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี และปัจจัยด้านการออกแบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) โมเดลรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีประสิทธิผลต่อการสื่อสารการตลาดธุรกิจออนไลน์ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นที่น่าเชื่อถือและยอมรับได้
References
กนกวรรณ กลับวงศ์. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และส่วนประสมทางการตลาดที่มีประสิทธิผลต่อการตัดสินใจซื้ออัญมณีเครื่องประดับผ่านสื่อออนไลน์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2566). สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคลรายจังหวัด ประจำเดือนธันวาคม 2565. ค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.dbd.go.th/more_news.php?cid=1984
ชูใจ คูหารัตนไชย. (2551). สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สาชาสถิติประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ธวัชชัย แม่นศร. (2562). กลยุทธ์การนำเสนอสารของเฟซบุ๊กแฟนเพจบริษัททัวร์ชั้นนำของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551). การวิจัยและพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา พลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
พนิดา อ่อนลออ. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ทำให้ลาซาด้า (Lazada) ประสบความสำเร็จ. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรพรรณ รัตนตรัยวงศ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเขตจังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2556). E-commerce และ online marketing. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). กลยุทธ์การตลาด: การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ไดมอนอินบิสสิเน็ตเวิร์ล.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน). (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้ งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2559). รายงานผลการสํารวจพฤติกรรมผู้ใช้ งานอินเทอร์ เน็ตในประเทศไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สุณิสา ตรงจิตร์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนัญญา เชียงกูล และภัทรภร สังขปรีชา. (2565). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการและการจ้างงานเอเจนซีโฆษณา. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 21(1), 196-209.
Arbuckle, J. J. (1995). AMOS user’s quide. Chicago: Small Waters.
Belch, G. E. & Belch, M. A. (2017). Advertising and promotion: An integrated marketing communications perspective. (19th ed.). Irwin: McGraw-Hill.
Brown, M. W. & Cudeek, R. (1993). Alliterative ways of assessing model fit, in texting structural equation model. New Jersey: Sage.
Cronbach, L. J. (2003). Essentials of Psychological Testing. (5thed.). New York: Harper Collins Publishers, Inc.
Harris, M. H. (2009). Entrepreneurship and Innovation in e-Commerce. Journal of Achievements in Materials and Manufacturing Engineering, 32(1), 92.
Hitt, M. A., Ireland, R. D., & Hoskisson, R. E. (2019). Strategic management: Competitiveness and globalization. Cincinnati, Ohio: South-Western Publishing.
Hu, Y., & Betler, R. (1999). Measuring destination attractiveness: A contextual approach. Journal of Travel Research, 32, 25-34.
Kitchen, P. J., & Pelsmacker, T. (2004). The emergence of IMC: A theoretical perspective. Journal of Advertising Research, 44(1), 20-31.
Kotler & Keller. (2016). Marketing management: The millennium. (14th ed.). New Jersey: Prentice-Hall Inc.
Tawk, C. (2021). The Manager’s Roles as Defined by Henry Mintzberg. Retrieved September 5, 2022, from https://www.meirc.com/articles/the-managers-roles-as-defined-by-henry-Mintzberg
World internet user statistics. (2020). Internet user in the world. Retrieved December, 22 2022, from http://www.internetworldstats.com/stats.htm
World Trade Organization. (1998). Definition of electronic commerce. Retrieved September 5, 2022, from https://www.wto.org/english/tratop_e/ecom_e/ecom_e.htm
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว