การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 มิติ แบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • พสุ เรืองปัญญาโรจน์ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิทธิพงศ์ วงศ์ไชยสุวรรณ วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ออกแบบเครื่องประดับ, สื่อการเรียนรู้, การเรียนรู้เชิงรุก, การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3 มิติ แบบการเรียนรู้เชิงรุกผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ นี้เป็นส่วนหนึ่งของ การวิจัยและพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับการเรียนการสอนเพื่อการออกแบบเครื่องประดับและวัสดุศาสตร์ระบบออนไลน์ผสมผสานการเรียนรู้เชิงรุก โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินแผนการเรียนรู้การออกแบบเครื่องประดับแบบการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านสื่อในระบบออนไลน์ 2) เพื่อประเมินแผนการเรียนรู้การออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมสามมิติ โปรแกรม 1 แบบการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านสื่อในระบบออนไลน์ 3) เพื่อประเมินแผนการเรียนรู้การออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมสามมิติ โปรแกรม 2 แบบการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านสื่อในระบบออนไลน์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิต ปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินระดับความรู้ก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผู้เรียนส่วนใหญ่มีระดับความรู้สูงสุดเพิ่มขึ้น 3 ระดับ จากระดับ 1 เป็นระดับ 4 โดยผู้เรียนร้อยละ 86.67 สามารถผ่านการประเมินความรู้ระดับ 4 ด้านการออกแบบเครื่องประดับ
  2. ผู้เรียนส่วนใหญ่มีระดับความรู้สูงสุดเพิ่มขึ้น 3 ระดับ จากระดับ 1 เป็นระดับ 4 โดยผู้เรียนร้อยละ 92.00 สามารถผ่านการประเมินความรู้ระดับ 4 ด้านการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมสามมิติ โปรแกรม 1
  3. ผู้เรียนส่วนใหญ่มีระดับความรู้สูงสุดเพิ่มขึ้น 3 ระดับ จากระดับ 1 เป็นระดับ 4 โดยผู้เรียนร้อยละ 83.33 สามารถผ่านการประเมินความรู้ระดับ 4 ด้านการออกแบบเครื่องประดับด้วยโปรแกรมสามมิติ โปรแกรม 2

References

เจริญ ภูวิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2565, จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ. (2563). ศธ. สั่งสถานศึกษาทั่วประเทศ ทั้งรัฐและเอกชน ปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565 จาก https://www.thaigov.go.th/news/ contents/details/27426

ตรีนุช ไพชยนตวิจิตร และสรัลชนา ธิติสวรรต. (2565). ผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการศึกษา. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565, จาก http://www.eco.ru.ac.th/images/document/article/TreeNut/ publish02-02.pdf

พรทิพย์ นวลแก้ว. (2560). รายงานการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น รายวิชาวิทยาศาสตร์ ว 23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมยนอก).

พระมหาสิทธิโชค สิริวณฺโณ (อินทร์พิบูลย์). (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีการเรียนรู้เชิงรุก ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ และอนุรักษ์ แท่นทอง. (2565). ผลกระทบและกลยุทธ์การรับมือในการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด. วารสารพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่,7(4), 208 – 233.

วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. (2539). ศิลปะเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: โอเดี่ยนสโตร์.

วัฒนะ จูฑะวิภาค. (2545). การออกแบบเครื่องประดับ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิภาณีย์ จิรธรภักดี. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักข่าวช่องเจ็ด. (2564). เรียนออนไลน์ ประสิทธิภาพลดลงมากกว่า 50%. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565, จาก https://news.ch7.com/detail/500079

สมภพ จงจิตร์โพธา. (2554). องค์ประกอบศิลป์. กรุงเทพฯ: วาดศิลป์.

สุวิมล มธุรส. (2564). การบริหารสถานศึกษาในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33 – 42.

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). Active Learning. ค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565, จาก https://lic.chula.ac.th/images/Active%20Learning/Active%20Learning_01.pdf

Claire Hoogendoorn. (2015). The Neuroscience of Active Learning. Retrieved March 17, 2022, from https://openlab.citytech.cuny.edu/writingacrossthecurriculum/2015/10/15/the-neu roscience-of-active-learning/

Walton and Matthews. (1998). Essentials of Problem-Based Learning. Medical Education, 23, 456 – 459.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31