ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของวิชาชีพแพทย์
คำสำคัญ:
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, เงินได้พึงประเมิน, วิชาชีพแพทย์บทคัดย่อ
แพทย์เป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และทักษะเฉพาะทางในการประกอบอาชีพ เงินได้จากการประกอบอาชีพของแพทย์สามารถจำแนกเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรได้ 4 ประเภทได้แก่ 1) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) คือเงินได้จากการจ้างแรงงาน 2) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) คือเงินได้จากการรับทำงานให้ 3) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) คือเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ (การประกอบโรคศิลปะ) และ 4) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) คือ เงินได้จากการประกอบธุรกิจการพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่งหรือการอื่น โดยขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ข้อกฎหมาย คำพิพากษาฎีกา แนววินิจฉัยของกรมสรรพากร หรือสัญญาข้อตกลงในการจ้างงานเป็นต้น ซึ่งเงินได้ประเภทการจ้างแรงงาน และการรับทำงานให้จะหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีในอัตราเหมาได้เพียงร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้นและยื่นแบบชำระภาษีปีละครั้ง ส่วนเงินได้จากวิชาชีพอิสระ(การประกอบโรคศิลปะ) และเงินได้จากการประกอบธุรกิจ (เปิดคลินิกหรือสถานพยาบาลรักษาผู้ป่วย) สามารถเลือกหักรายจ่ายได้
2 แบบ คือ 1) หักรายจ่ายแบบเหมาในอัตราร้อยละ 60 ไม่จำกัดจำนวนสูงสุด หรือ 2) หักรายจ่ายได้ตามจริงที่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ รวมทั้งต้องยื่นแบบเพื่อชำระภาษีปีละ 2 ครั้งคือแบบชำระภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี
References
กรมสรรพากร. (2565). ประมวลรัษฎากร. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566, จาก https://www.rd.go.th/315.html
ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม. (2566). คำสอนวิชากฎหมายภาษีอากร. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: พลสยาม พริ้นติ้ง.
พิเชษฐ์ โสภาพงษ์. (2560). ปัจจัยและแนวทางป้องกันหนีภาษีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วัชธนพงศ์ ยอดราช. (2565). การภาษีอากร 1. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ.
ศุภิสรา แย้มมณี. (2560). ภาระภาษีวิชาชีพแพทย์ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทย มาเลเซียและสิงคโปร์. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว