นโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีต่อนักท่องเที่ยวชาวจีน ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนบวก 3 พ.ศ. 2560 – 2564

ผู้แต่ง

  • ศิวรรจน์ บังเอิญ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยวชาวจีน, อาเซียนบวก 3

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีต่อนักท่องเที่ยวชาวจีน 2) ปัญหา อุปสรรคของนโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีต่อนักท่องเที่ยวชาวจีน และ 3) ประเด็นที่ควรพิจารณาในแผนงานและโครงการการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่มีต่อนักท่องเที่ยวชาวจีน ภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียนบวก 3 ในอนาคต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 ท่าน ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศไทย 2) กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวไทย-จีน และ 3) กลุ่มนักวิชการด้านการท่องเที่ยว ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและวิจัยเอกสาร และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายและยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวช่วงปี พ.ศ. 2560-2564 เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว สินค้า บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงสร้างความสมดุลให้กับการท่องเที่ยวไทยผ่านการตลาด พัฒนาศักยภาพบุคลากร ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในการรองรับนักท่องเที่ยว 2) ปัญหาด้านการเมืองในการกำหนดมาตรการควบคุมนักท่องเที่ยว ปัญหาด้านนโยบายและความร่วมมือ ปัญหาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ปัญหาข้อแตกต่างของแต่ละประเทศ ปัญหาเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม และปัญหาความเข้าใจและการยอมปรับนโยบายของผู้กำหนดนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว 3) แผนงานและโครงการการท่องเที่ยวในอนาคตควรพิจารณาจาก 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ประเด็นกระแสปัญหาจากผู้คนจำนวนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในสังคม ก่อให้เกิดการวิตกกังวลหรือการได้รับผลกระทบจนกลายเป็นภาวะวิกฤตที่มีอิทธิพลต่อการผลักดันสู่วาระนโยบาย ก่อนเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจในเชิงนโยบาย (2) ประเด็นกระแสการเมือง ที่อาจส่งผลกระทบเกี่ยวเนื่องกับกระแสอื่น ๆ โดยกระแสการเมืองจะมีอิทธิพลต่อการผลักดัน "วาระนโยบาย" ก่อนเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจในเชิงนโยบาย (3) ประเด็นกระแสนโยบายควรพิจารณาจากกระแสนโยบายภายนอกรวมด้วย เช่น นโยบายการท่องเที่ยวของประเทศคู่แข่ง กระแสนโยบายประเทศต้นแบบการจัดการท่องเที่ยว

References

กฎหมายอาเซียน. (ม.ป.ป.). ความเป็นไปได้ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวอาเซียน. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.lawforasean.krisdika.go.th/Content/View?Id=173&Type=1

กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานจังหวัดภูเก็ต. (ม.ป.ป.). ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน. ค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565, จาก https://www.phuket.go.th/webpk/ file_data/asian/01.pdf

ฐานริณทร์ หาญเกียรติวงศ์, รุจิกาญจน์ สานนท์. (2563). ภาวะผู้นำการบริหารในภาวะวิกฤติสู่การพัฒนา อย่างยั่งยืน. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 105-108.

ไทยพับลิกา. (2563). การหยุดชะงักครั้งใหญ่จากไวรัสโควิด-19 ทำให้โลกสูญเสียนักท่องเที่ยวจีน 150 ล้านคน. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://thaipublica.org/2020/02/pridi181/

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). จีนเปิดประเทศ: โอกาสและความเสี่ยง. ค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256601134GlobalTrend_chinareopen.aspx

ณัฏฐธิดา โพธิ์ปี. (2561). ปัญหาและอุปสรรคในการขยายตลาดท่องเที่ยวเมืองรอง สำหรับนักท่องเที่ยวตลาดรัสเซีย กรณีศึกษา: จังหวัดพิษณุโลก (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสงค์ชัย เศรษฐสุรวิชญ์. (2558). การศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบาย: วิเคราะห์ตัวแบบพหุกระแสและการนำไปใช้. วารสารการเมืองการบริหารและกฎหมาย, 7(3), 301-331.

พิชญะ ชาญณรงค์. (2556). การนำนโยบายการอำนวยความเป็นธรรมและความ มั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนไปปฏิบัติในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มนตรี บุญจรัส. (2566). การกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐบาลไทย. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรม ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 6(3), 269.

ศูนย์การเรียนรู้อาเซียน, กรมการปกครองท้องถิ่น. (ม.ป.ป). อาเซียน + 3. ค้นเมื่อ 29 กันยายน 2566, จาก http://asean.dla.go.th/public/index.do?ms=1695968080480

สัญญา เคณาภูมิ. (2559). การกำหนดนโยบายสาธารณะ : ทฤษฎี และกระบวนการ. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(2), 104.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2543). สาธารณบริหารศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สัญญา เคณาภูมิ. (2561). กระบวนการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะภายใต้กรอบแนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 6(2), 6-8.

สุปราณี ธรรมพิทักษ์. (2561). มุมมองเชิงทฤษฎีของการนำนโยบายไปปฏิบัติ. รมยสาร, 16(2), 501-518.

สุภาพร เจริญสุข และคณะ. (2561). ปัญหาและความจำเป็นในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานขายทัวร์ในจังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 256-269.

หยี่ฟาง แซ่ฟาง. (2564). การนำนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปปฏิบัติของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารศิลปการจัดการ, 5(1), 134-149.

Anderson, J. E. (1975). Public Policy Making. New York: Holt , Wiston & Rinrhart.

Asian Development Bank Institute. (2014). ASEAN 2030 toward a borderless economic community. Japan: Asian Development Bank Institute (ADBI).

Dye, T. R. (1984). Understanding Public Policy. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice -Hall, Inc.

Edwards III, G. C. & Sharkansky, I. (1978). The Policy Predicament: Making and Implementing Public Policy. San Francisco: Freeman and Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30