การจัดการทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สอาด บรรเจิดฤทธิ์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ต

คำสำคัญ:

การจัดการทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, บริษัทข้ามชาติ, โมเดลเชิงโครงสร้างการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, โมเดลเชิงภาระกิจการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเชิงโครงสร้างและเชิงภาระกิจ ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยและเพื่อพัฒนาโมเดลเชิงโครงสร้างและ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนาโมเดลบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่มแบบเจาะจงจากผู้บริหารทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 10 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เพื่อให้ความเห็นต่อโมเดลการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาจากการทบทวนวรรณกรรมและการศึกษาสภาพปรากฏการณ์การประเมินการพัฒนาโมเดล และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศจำนวน 3 คนเพื่อยืนยันความเป็นไปได้และความเหมาะสมของโมเดล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์เนื้อหาและใช้วิธีสรุปความแบบอุปนัย

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาเชิงโครงสร้างของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
คือ ความซ้ำซ้อนเกินความจำเป็นของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ประจำสำนักงานใหญ่กับหน่วยงานประจำภูมิภาค สภาพปัญหาเชิงภาระกิจคือการยกระดับความสำคัญของดิจิทัลให้เป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนภาระกิจของงานทรัพยากรบุคคลระหว่างประเทศ 2) โมเดลเชิงโครงสร้างการจัดการทรัพยากรมนุษย์ประกอบด้วย ภาระกิจทรัพยากรมนุษย์ระดับโลก ระดับประเทศ ระดับองค์กร และระดับหน่วยงาน ส่วนโมเดลเชิงภาระกิจประกอบด้วย การสรรหาบุคคลากรระหว่างประเทศ ผลตอบแทนและสวัสดิการระหว่างประเทศ การพัฒนาบุคคลากรระหว่างประเทศ การสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความรับผิดชอบต่อสังคมระหว่างประเทศ
การบริหารการปฏิบัติงานระหว่างประเทศ และดิจิทัลเพื่อการจัดการทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

References

กัญจนวลัย นนทแก้ว แฟร์รี่ และวรรณภา ลือกิตินันท์. (2561). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทลงทุนข้ามชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กรณีศึกษาเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน เซโน. วารสารชุมชนวิจัย, 12(1), 42-55.

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2560). การสร้างและการพัฒนาโมเดล/รูปแบบ/แบบจำลอง/ตัวแบบ. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 1-11.

เดือนเด่น นิตมบริรักษ์ และคณะ. (2550). โครงการบทบาทบริษัทข้ามชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสนับสนุนกองทุนวิจัย.

ธารทิพย์ พจน์สุภาพ และรุ่งอรุณ กระแสสินธุ์. (2560). ประเด็นและความท้าทายในงานทรัพยากรมนุษย์สำหรับธุรกิจระหว่างประเทศ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(3), 242-254.

สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2564). ความปรกติใหม่ของการจัดการทรัพยากรมนุษย์ภาคธุรกิจหลังยุคโควิด-19. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2). 46-60.

สอาด บรรเจิดฤทธิ์. (2565). ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์กรธุรกิจในประเทศไทย. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทรรศน์ (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์),12(2), 292-306.

หนังสือพิมพ์ Business Today. (2564). ตลท. เปิดรายงานปี 63 บจ. ลดการลงทุนต่างประเทศ. ฉบับวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 หน้า 1.

Keeves, P. J. (1998). Model and Model Building.“Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon Press.

Marzena, S. (2011). The Configurations of HRM bundles in MNCs by their contributions to subsidaries’ performance and cultural dimensions. International Journal of cross cultural management. 21(1). https://doi.org/10.1177/1470595821997488

Morgan V. P. (1986). International Human Resource: Management: Fact of Fiction. Personnel Administrator, 31(9), 44.

Tony E., Phil A., Gregor, M., & Olga, T. (2021). International human resource management in multinational companies: Global norm making within strategic action fields. Human Resource Management Journal, 32(3), 683-697.

Tony, E. & Chris, R. (2017). International Human Resource Management (3rd ed.). Pearson: Education Limited.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31