ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความได้เปรียบในการแข่งขัน, ผลการดำเนินงานทางธุรกิจ, ธุรกิจร้านอาหาร, ความเป็นผู้ประกอบการบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความได้เปรียบในการแข่งขันที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ 3) เพื่อสร้างแบบจำลองของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันและ ผลการดำเนินงานทางธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย จำนวน 400 ราย สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างด้วยเทคนิควิธี Partial Least Square
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ปัจจัยด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และด้านการเป็นผู้ประกอบการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) อิทธิพลของความได้เปรียบในการแข่งขันและผลการดำเนินงานธุรกิจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย พบว่าโมเดลแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้างมีความเหมาะสมกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลวิจัยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการทำความเข้าใจถึงอิทธิพลและรูปแบบความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย
References
กฤษดา เชียรวัฒนสุข และ ศรากุล สุโคตรพรหมมี. (2559). การวิเคราะห์เพื่อจําแนกกลุ่มลูกค้าผู้ใช้บริการสายการบินต้นทุนตํ่าโดยใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps). วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 13(1), 92-109.
เจริญชัย เอกมาไพศาล & เสาวณี จันทะพงษ์. (2565). ความยืดหยุ่นในการปรับตัวของธุรกิจโรงเเรมเเละร้านอาหารภายใต้ภาวะวิกฤตการณ์โควิด-19. วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 45(174), 53-78.
ฑัมม์พร นิพนธ์พิทยา. (2561). ความสำคัญของการวิจัยทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิจยวิชาการ, 1(2), 121-136.
ธัญนันท์ บุญอยู่ และ วิษณุ ปัญญาประสิทธิ์. (2562). อิทธิพลของความได้เปรียบทางการแข่งขันในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงระหว่างสมรรถนะหลักขององค์การสู่ผลการดาเนินงานของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(2), 81-90.
บุญชนิด วิงวอน ธนกร น้อยทองเล็ก และมนตรี พิริยะกุล. (2558). อิทธิพลนวัตกรรม ธรรมนูญครอบครัว เครือข่ายธุรกิจ ในฐานะปัจจัยเชื่อมโยงระหว่างภาวะผู้ประกอบการและผลการดำเนินงานของธุรกิจครอบครัว. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(1), 46-61.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2549). สถิติวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่9). นนทบุรี: โรงพิมพ์พีเอส. พริ้นท์.
ภัทร พจน์พานิช. (2560). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล. (2562). การบริหารทรัพยากรมนุษยเชิงกลยุทธและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธุรกิจโรงแรมรีสอรท. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 1-12.
ยศิวกร อโนรีย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดราชบุรี. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง. (2558). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(3), 1051-1062.
สมาน รังสิโยกฤษฎ์. (2544). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 22). กรุงเทพฯ : สวัสดิการ สำนักงาน ก.พ.
สุรมงคล นิ่มจิตต์. (2559). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์กับการเป็นองค์การศักยภาพสูง. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1-13.
อัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2560). ความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมประเภทอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(ฉบับพิเศษ), 13-26.
Hunt, S. D. & Morgan, R. (1995). The Comparative Advantage Theory of Competition. Journal of Marketing, 59(2): 1-15.
Kraus, K. and Lind, J. (2010) The Impact of the Corporate Balanced Scorecard on Cor-porate control—A Research Note. Management Accounting Research, 21, 265-277.
Poopatanapong, K., & Jearrajinda, N. (2020). The impact of technology development on employee performance. Rajapark Journal, 14(34), 86-100.
Rahaman, M. A. (2021). The Effect of Entrepreneurial Orientation, Market Orientation and Gender on Business Performance_ An Empirical Study of SMEs in Bangladesh. The Journal of Asian Finance, Economics and Business, 8(6), 741-746.
Wingworn, B. (2015). The mediating effect of innovation, family constitution, business networking on entrepreneurship and family business performance. Journal of the Association of Researchers, 20(1), 46-61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว