การสร้างแบรนด์เมืองผ่านอินสตาแกรม กรณีศึกษา กรุงเทพมหานครและเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ธีรติร์ บรรเทิง คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • หนึ่งฤทัย ประเสริฐ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การสร้างแบรนด์เมือง, อินสตาแกรม, กรุงเทพมหานคร, เชียงใหม่

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบายการสร้างแบรนด์เมืองและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาแบรนด์เมืองกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ของภาครัฐในอินสตาแกรม 2) รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการสร้างแบรนด์เมืองของกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ผ่านผู้ใช้อินสตาแกรม 3) นโยบายการสร้างแบรนด์เมืองระหว่างกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ผ่านภาครัฐและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการสร้างแบรนด์เมืองของผู้ใช้อินสตาแกรมในมุมมองที่สอดคล้องกัน 4) กระบวนการเสริมสร้างชื่อเสียงของกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอินสตาแกรม โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์เนื้อหา จากภาพ ข้อความ และคลิปวิดีโอในอินสตาแกรมที่ผู้ใช้งานสร้างขึ้น จากคำค้นหา 2 คำ ได้แก่ #กรุงเทพ และ #เชียงใหม่ จำนวนรวม 1,000 ตัวอย่าง

ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกัน รูปแบบแบบการนำเสนอที่พบมากที่สุดคือภาพถ่ายและข้อความ 2) รูปภาพใน Instagram จากคำค้นหา #กรุงเทพ พบว่าลักษณะการสร้างเนื้อหาของผู้ใช้อินสตาแกรมที่พบมากที่สุด คือ ภาพถ่าย รูปแบบเนื้อหาที่พบมากที่สุดจะเป็นรูปแบบภาพและข้อความ จากคำค้นหา #เชียงใหม่ พบว่าลักษณะการสร้างเนื้อหาของผู้ใช้อินสตาแกรมที่พบมากที่สุด คือ ภาพวิว รูปแบบเนื้อหาที่พบมากที่สุดจะเป็นรูปแบบภาพและข้อความ 3) นโยบายการสร้างแบรนด์เมืองระหว่างกรุงเทพมหานครและเชียงใหม่ผ่านภาครัฐและรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาการสร้างแบรนด์เมืองของผู้ใช้อินสตาแกรมมีมุมมองที่สอดคล้องกันบางประเด็น ได้แก่ การมุ่งนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ธรรมชาติ ร้านอาหาร และการช้อปปิ้ง 4) กระบวนการเสริมสร้างชื่อเสียงของกรุงเทพมหานครและจังหวัดเชียงใหม่ผ่านอินสตาแกรมส่วนใหญ่มาจากผู้ใช้งาน (user) มากกว่าหน่วยงานรัฐ

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). ททท. เปิดแผนตลาดฯ ปี 66 ตั้งเป้า“พลิกฟื้น” อุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างสมดุลทุกมิติเน้นสร้างคุณค่า การเดินทางสู่ High Value & Sustainable Tourism ดัน รายได้รวม 2.38 ล้านล้านบาท. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการดำเนินงานด้านการพัฒนาความรู้และทักษะด้านดิจิทัล. (2563). ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล. เพรชบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ณัฐพล ม่วงทำ. (2566). สรุป 14 Thailand Social Media Stat Insight 2023 จาก We Are Social.

ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.everydaymarketing.co/trend-insight/ summary-14-thailand-social-media-stat-insight-2023-from-digital-report-we-are-social

เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี. (2563). การท่องเที่ยวในเขตเมืองและการพัฒนา: กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 2(2), 13-26.

รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร และ ภาคภูมิ ภัควิภาส. (2559). อัตลักษณ์ของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวชาวไทยในการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(1), 46-61.

วรัชญ์ ครุจิต. (2561). แนวคิดใหม่การประชาสัมพันธ์และการโฆษณาในยุคดิจิทัล. ในเอกสารการสอนชุดวิชาหลักการประชาสัมพันธ์และโฆษณา (หน่วยที่ 2, น.1-38). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุประภา สมนักพงษ์. (2560). แนวโน้มและตลาดการท่องเที่ยว 4.0 ประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 2055-2068.

สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2566. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จากhttps://www.chiangmai.go.th/managing/public/D2/2D24Aug2022160046.pdf

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. (2566). สรุปนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์) ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566,จากhttp://www.oic.go.th/Fileweb/Cabinfocenter9/Drawer020/General/Data 0004/00004401.Pdf

หลี เฉิงฉวย และ บุญฑวรรณ วิงวอน. (2561). ตัวกำหนดการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนในการเลือกแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 24 (ฉบับพิเศษ),153-163.

อรรถการ สัตยพาณิชย์. (2562). City Branding: เมืองก็สร้างแบรนด์ได้!!!. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/662005

Ahlgren, M. (2566). 25+ สถิติโซเชียลมีเดีย ข้อเท็จจริง และแนวโน้มในปี 2023. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.websiterating.com/th/research/social-media-statistics-facts

Cotactic Strategist. (2564). รวม 4 แพลตฟอร์ม Social Media หาลูกค้ายุคโควิดที่เจ้าของธุรกิจไม่ควร พลาด. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.cotactic.com/blog/soicial-media-marketing

Digimusketeers. (2565). รวม Insight ของคนไทยที่ใช้แพลตฟอร์ม Social Media ปี 2022. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://digimusketeers.co.th/blogs/online-marketing/social-media-2022

Positioning. (2564). สรุปภาพรวม ‘สายเที่ยว’ ของชาว ‘Instagram’ พบ ‘คาเฟ่และธรรมชาติ’ หมุดหมายหลักที่อยากไป. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://positioningmag.com/1366679

True digital academy. (2565). ทำโฆษณาออนไลน์ปี 2022-2023 แพลตฟอร์มไหนใช้ยังไงให้ปัง !?. ค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.truedigitalacademy.com/blog/digitrend-2022-2023-social-media-platforms-for-digital-marketing

Anholt, S. (2007). Competitive identity: the new brand management for nations, cities and regions. New York: Palgrave Macmillan.

Acuti, D., Mazzoli, V., Donvito, R., & Chan, P. (2018). An instagram content analysis for city branding in London and Florence. Journal of Global Fashion Marketing, 9(3), 185-204.

Avraham, E. & Ketter, E. (2008). Media strategies for marketing places in crisis: improving the image of cities, countries and tourist destinations. Oxford: Elsevier.

Bloom Consulting. (2020). 14 steps to Nation Branding. Madrid: Bloom Consulting.

Camilleri, M. A. (2019). The planning and development of the tourism product. In Camilleri, M. A. (Ed.), Tourism planning and destination marketing. Bingley: Emerald Publishing Limited.

Dastgerdi, A. H. & De Luca, G. (2019). Strengthening the city’s reputation in the age of cities: an insight in the city branding theory, City, Territory and Architecture, 6(2), 1-7.

Dinnie, K. (2008). Nation branding: concepts, issues, practice. Oxford: Elsevier.

Dinnie, K. (2011). Introduction to the Theory of City Branding. In Dinnie, K. (Ed), City branding: theory and cases. New York: Palgrave Macmillan.

Egger, R., Gumus, O., Kaiumova, E., Mükisch, R. & Surkic, V. (2022). Destination image of DMO and UGC on Instagram: a machine-learning approach. In Stienmetz, J. L., Ferrer-Rosell, B. & Massimo, D. (Eds.), Information and Communication Technologies in Tourism 2022, Proceedings of the ENTER2022 eTourism Conference, January 11-14, 2022, 343-355.

Govers, R. & Go, F. (2009). Place branding: glocal, virtual and physical identities, constructed, imagined and experienced. New York: Palgrave Macmillan.

Prayudi, A., Ardhanariswari, K. A. & Probosari, N. (2022). City branding Bangkok as creative city of design. Journal of Social and Political Sciences, 5(3), 129-142.

Piñeiro-Otero, T. & Martínez-Rolán, X. (2016). Understanding Digital Marketing Basics and Actions. In Machado, C. & Davim, J. Paulo (Eds.), MBA theory and application of business and management principles (pp. 37-76). Switzerland: Springer.

We Are Social. (2023). Digital 2023 Global Overview Report: Thailand Digital Stat Insight

Retrieved September 22, 2023 from https://wearesocial.com/wp-content/ uploads/2023/03/Digital-2023-Global-Overview-Report.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30