แนวทางพัฒนาสมรรถนะนักศึกษา หลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน สถาบันการบินพลเรือน เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ

ผู้แต่ง

  • นพภัสสร ศรีเบ็ญรัตน์ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน
  • คงศักดิ์ ชมชุม หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน
  • ธัญญรัตน์ คำเพราะ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน

คำสำคัญ:

แนวทางพัฒนา, สมรรถนะ, หลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน, สถาบันการบินพลเรือน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สมรรถนะของนักศึกษา หลักสูตรนายช่างภาคพื้นดิน สถาบันการบินพลเรือนเพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ และ 2) แนวทางพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาหลักสูตรนายช่างภาคพื้นดินสถาบันการบินพลเรือนตามความต้องการของสถานประกอบการ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้รับผิดชอบฝ่ายซ่อมบำรุงอากาศยานจากสถานประกอบการ
ที่มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่ง 5 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การวิจัย
เชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จบการศึกษาหลักสูตรนายช่างภาคพื้นดินสถาบันการบินพลเรือนระหว่าง
ปี พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2562 ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งช่างซ่อมบำรุงอากาศยานในสถานประกอบการ จำนวน
234 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานประกอบการมีความต้องการสมรรถนะ ได้แก่ ด้านทัศนคติ ด้านความรู้และด้านทักษะ เรียงตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาสมรรถนะของนักศึกษาตามความต้องการของสถานประกอบการ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการเพื่อสร้างประสบการณ์การทำงานให้แก่นักศึกษา ประยุกต์ใช้การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อสร้างทัศนคติในการทำงานที่เน้นความปลอดภัย การทำงานเป็นทีม ความรับผิดชอบ วินัยในการทำงานและการพัฒนาตนเอง ส่งเสริมการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับ

การซ่อมบำรุงอากาศยาน พื้นฐานด้านการบินทั่วไป และกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทักษะ
ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ทักษะการตัดสินใจ และทักษะการแก้ปัญหา

References

คณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาช่างอากาศยานตามคำสั่งคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. (2561).แผนแม่บทขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านช่างอากาศยาน พ.ศ.2562 – 2568. ค้นเมื่อ18 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.tpqi.go.th

จรรจิรา ดาราชาติ. (2560). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถานประกอบการ(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ฐิติมา อัศวพรหมธาดา, ปิยฉัตร จันทิวา, และสุพิชชา ชีวพฤกษ์. (2552). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสหกิจศึกษา จากสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 5(2), 97-102.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

พรนารี โสภาบุตร. (2555). แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาอุตสาหกรรม ระดับภาคีวิศวกร เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พีรพงษ์ พันธ์โสดา, สมศักดิ์ ลิลา และ สมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2559). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะช่างไฟฟ้าโรงงานโดยใช้โครงงานวิชาชีพเป็นฐาน (Project Based Learning) ระบบทวิภาคีสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เพียงจันทร์ โกญจนาท. (2558). คุณลักษณะของวิศวกรที่พึงประสงค์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 1(1), 147-159.

สถาบันการบินพลเรือน. (2564). สถาบันการบินพลเรือน (Civil Aviation Training Center) ศูนย์ชำนัญพิเศษด้านการบินพลเรือนแห่งภูมิภาค. ค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2566, จาก https://www.catc.or.th/ th/history-of-catc/

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2562). การพัฒนากรอบคุณวุฒิวิชาชีพ. ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565, จาก http://www.sicec.ac.th

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2563). มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการบิน.ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565, จาก https://tpqi-net.tpqi.go.th

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560 - 2565). ค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2565, จากhttps://eeco.or.th/ th/filedownload/1478/cf4092afd2456bb1f03995574db27a75.pdf

อัญชลี ทองเอม. (2561). การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(3),185-199.

Leonard, Skipton H. and Lang, Fred. (2010).Leadership Development Via Action Learning. Advance in Developing Human Resource, 12(2), 225-240.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31