สมรรถนะของนักบัญชี แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ศิรบูรณ์ แก้วสมนึก คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • พรทิวา แสงเขียว คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

สมรรถนะของนักบัญชี, แรงจูงใจ, ประสิทธิภาพการทำงาน, จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสมรรถนะของนักบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2. ศึกษาสมรรถนะของนักบัญชีที่ส่งผลต่อจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3. ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 4. ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 4 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ
มีจำนวน 46,039 คน เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่เปิดเผยข้อมูลต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane
ได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 397 คน เครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของสมรรถนะของนักบัญชี แรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก และภาพรวมของประสิทธิภาพการทำงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอยู่ในระดับมาก และพบว่า สมรรถนะของนักบัญชี ส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการทำงานและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งผลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพ
การทำงานและจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้แก่ ประสิทธิภาพการทำงาน 3 ด้าน คือ ด้านการบรรลุเป้าหมาย ด้านความน่าเชื่อถือ และด้านความทันเวลา จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี 6 ด้าน คือ ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความเที่ยงธรรม ความเป็นอิสระ ด้านความรู้ความสามารถความเอาใจใส่ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน ด้านการรักษาความลับ ด้านพฤติกรรมทางวิชาชีพ ด้านความโปร่งใส

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. สรุปจำนวนสำนักงานบริการรับทำบัญชีแต่ละจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.dbd.go.th/news_view.php?nid=469403169

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2557). ทักษะ. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.dailynews.co.th/ article/223844

ดุษฎี อิศราพฤกษ์. (2560). เจนเนอเรชั่นและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน (บริษัทญี่ปุ่น

แห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี) (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สถาบัน เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

ปฤษฎา ภู่ประดิษฐ์. (2563). คุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการธุรกิจ ในจังหวัดชัยนาท

(การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปุณณัฏฐา วันดี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต่อจรรยาบรรณ ในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2560). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่ 3 ปรับปรุง 2558. ค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.tfac.or.th

สภาวิชาชีพบัญชี. (2561). จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2566, จาก https://www.tfac.or.th

สุภารักษ์ สุจารี. (2564). อิทธิพลของทักษะนักตรวจสอบภาษีที่มีต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักตรวจสอบภาษีในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุวรรณา คิงคำ. (2564). อิทธิพลของทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อินทร์ จันทร์เจริญ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยเชียงราย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2541-2554.

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31