ผลกระทบของทักษะวิชาชีพผู้ทำบัญชีที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ของสหกรณ์ออมทรัพย์ทหารบก
คำสำคัญ:
ทักษะวิชาชีพผู้ทำบัญชี, คุณภาพรายงานทางการเงิน, สหกรณ์ออมทรัพย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของทักษะวิชาชีพผู้ทำบัญชีที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ทหารบก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่ายบัญชี เจ้าหน้าที่บัญชี ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีของสหกรณ์ออมทรัพย์ทหารบก จำนวน
103 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างซึ่งได้มาจากการเปิดตาราง Krejcie & Morgan และใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงอนุมาน โดยการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของทักษะวิชาชีพผู้ทำบัญชี อยู่ในระดับมาก พบว่า ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 3.979) ภาพรวมของคุณภาพรายงานทางการเงิน อยู่ในระดับมาก พบว่า คุณภาพรายงานทางการเงินด้านความทันเวลาของสหกรณ์ออมทรัพย์ทหารบกมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 3.944) ผลการทดสอบสมมติฐานในการศึกษา พบว่า ทักษะวิชาชีพผู้ทำบัญชี ประกอบด้วย ทักษะด้านปัญญา ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสาร ทักษะด้านการจัดการบุคคล และทักษะด้านการจัดการองค์กร ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ทหารบกทั้ง 6 ด้าน ได้แก่
ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านความเป็นตัวแทนอันเที่ยงธรรม ด้านการเปรียบเทียบกันได้ ด้านความทันเวลา ด้านความเข้าใจได้ และด้านความเชื่อถือได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05
References
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. (2542). คู่มือระบบบัญชีสหกรณ์ออมทรัพย์. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565,
จาก https://www.cad.go.th/ewt_dl_link.php?nid=35046&filename=accounting_system
กรมส่งเสริมสหกรณ์. (2565). รายงานจำนวนสหกรณ์รายเดือน. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565,
จาก https://office.cpd.go.th/itc/index.php/infocpd/info-coop/report-coop-monthly
จิรวุฒิ แดงสอาด. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของนักบัญชีที่มีต่อคุณภาพของรายงานการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสิงห์บุรี (การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ฐิติรัตน์ มีมาก, ธาริณี อังค์ยศ และทักษิณา อังค์ยศ. (2559). ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของนักบัญชี ที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานงบการเงินขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 22(1), 119-133.
ณัฎฐ์รมณ ศรีสุข. (2560). สมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี
ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ณฐภัทร หงษ์พงษ์. (2560). ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี (การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ดุษณี สิกพันธ์ และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2559). ทักษะการปฏิบัติงานที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของผู้ทำบัญชีในกรุงเทพมหานคร. การประชุมทางวิชาการ ระดับชาติประจำปี 2559. (หน้า 272-281). ปทุมธานี: วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
นุจรี อร่ามรัตนพันธุ์. (2561). ทักษะทางวิชาชีพที่จำเป็นสำหรับนับบัญชีองค์กรรัฐวิสาหกิจในศตวรรษที่ 21:
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 (ภาคกลาง) (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ที่ 48/2563. เรื่อง กรอบแนวคิดสำหรับรายงานทางการเงิน. (17 พฤศจิกายน 2563). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษที่ 271, 14.
ปิยธิดา จุลมิตร. (2562). ทักษะวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและคุณภาพ รายงานทางการเงินของธุรกิจกีฬาในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562. (20 มีนาคม 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่136 ตอนที่ 34 ก, 27-42.
ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2563). ทักษะทางวิชาชีพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
ภัทราพร อุระวงษ์. (2563). ทักษะการปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานทางบัญชีของนักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
มณีวรรณ ศรีปาน. (2564). สมรรถนะนักบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสถานประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ว่าด้วยการบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร พ.ศ.2563. (9 ตุลาคม 2563).
ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่137 ตอนพิเศษที่ 238, 11-37.
สถาบันวิชาการด้านสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). การจัดการสหกรณ์ ออมทรัพย์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2557). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ ฉบับที่3 (ฉบับปรับปรุง) การพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก-ทักษะทางวิชาชีพ. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2565, จาก https://www.tfac.or.th/ upload/9414/eq6p8RJwV0.pdf
อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์. (2554). เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน การวิเคราะห์งบการเงิน. (พิมพ์ครั้งที่6) กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
Sirikanya926. (2014). ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bloom (Bloom’s Taxonomy). ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2566, จาก https://sirikanya926.wordpress.com/2014/01/18/ทฤษฎีการเรียนรู้ของbloom-blooms-taxono/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว