ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสด และสภาพคล่องกับรายการคงค้างของกิจการ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สารินี ศรีสงคราม คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพมหานคร
  • เบญจพร โมกขะเวส คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

กระแสเงินสด, สภาพคล่อง, รายการคงค้าง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดกับรายการคงค้างของกิจการ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพคล่องกับรายการคงค้างของกิจการ กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลจากรายงานทางการเงินของบริษัทในรอบระยะเวลาบัญชีสำหรับปีสิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2565 รวมเป็นระยะเวลา 4 ปี จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ได้มี 36 บริษัท โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับวิธีรายการคงค้างของกิจการ วัดค่าโดยใช้วิธีรายการคงค้างจากการดำเนินงานสุทธิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กระแสเงินสดสุทธิจากการลงทุน กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ และอัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ ไม่มีความสัมพันธ์กับรายการคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน และรายการคงค้างจากดำเนินงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับรายการคงค้างของกิจการ วัดค่าโดยใช้วิธีรายการคงค้างจากเงินทุนหมุนเวียน และรายการคงค้างจากดำเนินงาน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

กมลชนก สกุลเจริญ. (2563). ผลกระทบของการตกแต่งบัญชีและการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 17(1), 42-56.

กุสุมา ดำพิทักษ์ และพนารักษ์ ปานมณี. (2560). ความสามารถพยากรณ์ของข้อมูลผลการดำเนินงานในอดีตในการพยากรณ์กำไรในอนาคต. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 57(3), 77-99.

จิรบุษ สันโดษ. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานทางการเงินและรายการคงค้างของกิจการ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดารานาถ พรหมอินทร์. (2560). ความสัมพันธ์ของผลการดาเนินงานและคุณภาพกาไรต่อราคาตลาดทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. ค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.set.or.th/th/company/companylist.html

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). ข้อมูลราคาหลักทรัพย์ย้อนหลัง 5 ปี. ค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.setsmart.com

ติรนันท์ รุ่งสว่าง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกรูปแบบการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET). วารสารสารสนเทศ, 14(2), 107- 118.

ธิษตยา พิสุทธ์จินดา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานทางการเงิน กับรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI) (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พิมลวรรณ ตรีพัฒนสิทธิ์ และภัทรณัชชา โชติคุณากิตติ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดทางเลือกการลงทุน (เอ็ม เอ ไอ). วารสารรัชภาคย์, 15(41),126-139.

พิศมัย โกมลศรี. (2561). ความสัมพันธ์ของกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน รายการคงค้าง และสินทรัพย์ดำเนินงานสุทธิ กับความสามารถในการทำกำไรในอนาคต ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ยุวดี วงค์แวงน้อย. (2563). ผลกระทบของกระแสเงินสดและคุณภาพงานสอบบัญชีที่มีผลต่อการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(8), 175-195.

สุดารัตน์ หอมกลิ่น. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานทางการเงินกับรายการคงค้างของกิจการ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI). วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 69-75.

สุรกิจ คำวงศ์ปีน. (2559). การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน แนวทางและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hirshleifer, Hou, Teoh, and Zhang (2004). Do investors overvalue firms with bloated balance sheet?. Journal of Accounting and Economics, 38, 297-331.

Collins, W. & Hribar, P. (1999). Earnings-based and accrual-based market anomalics: One effect or two. Journal of Accounting and Economics, 29(1), 101-123.

Dechow, P. M., Sloan, R. G. and Sweeney. A. (1995).Detecting earnings management. The Accounting Review, 70, 193-225.

Kothari, S. P., A. J. and Wasley. C. E. (2005). Performance matched discretionary accrual measures. Journal of Accounting & Economics, 39, 163-197.

Park, Myung Seok and Byung T. Ro. (2004). The effeect of firm-industy earnings correlation and announcement timing on firms' accrual decision. The British Accounting Review, 36, 269-289.

Patricia M. Dechow, Amy, P. (1999). Hutton and Richard G. Sloan, An Empirical Assessment of the Residual Income Valuation Model. Journal of Accounting and Economics, Elsevier, 26(1-3), 1-34.

Phattanapunyawat, Y. (2019). Relationship of Accounting Information with Earnings Quality of the Companies Listed on the Stock Exchange of Thailand (SET Index CLMV) (Master’s Thesis). Dhurakit Pundit University.

Richardson, S., R. Sloan, M. Soliman, and I.Tuna. (2004).The Implications of Accounting Distortions and Growth for Accruals and Profitability. The Accounting Review, 81, 713-743.

Sloan, R. G. (1996). Do stock prices fully reflect information in accruals and cash flows about future earnings?. The Accounting Review, 71, 289-315.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31