ความสามารถด้านสารสนเทศและการบริหารความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการตัดสินใจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
สารสนเทศ, ความเสี่ยง, การตัดสินใจบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถด้านสารสนเทศและการบริหารความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความสามารถด้านสารสนเทศและการบริหารความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้คือ ผู้ทำบัญชีของบริษัทที่จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 880 บริษัท ได้กลุ่มตัวอย่าง 275 บริษัท โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถด้านสารสนเทศและการบริหารความเสี่ยงมีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชี ด้านความถูกต้องเชื่อถือได้ ด้านตรวจทานความถูกต้องได้ ด้านความสมบูรณ์ของสารสนเทศ ด้านการทันเวลา และด้านความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะตัดสินใจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2) ความสามารถด้านสารสนเทศและการบริหารความเสี่ยงมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจด้านการกำหนดปัญหา ด้านการค้นหาทางเลือก ด้านการประเมินทางเลือก ด้านการตัดสินใจ ด้านการปฏิบัติตามการตัดสินใจ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 0.05
References
จารุวรรณ จันทร์รื่นเริง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีกับ คุณภาพสารสนเทศทางการบัญชี: กรณีศึกษาธุรกิจ SMEs ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(1), 33-40.
จิราพร กวดขุนทด. (2561). การบริหารความเสี่ยงด้านงานวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , 5(1), 69-78.
ทิพย์สุดา ทาสีดำ. (2565). ผลกระทบของความน่าเชื่อถือของสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสำนักงานบัญชี ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มนุษยสังคมสาร (มสส.)20(2), 179-200.
ปารวีณ์ โรจนวิธาน (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อปุ๋ยเคมีของเกษตรกร ในเขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(73), 125-137.
พัชรินทร์ ใจเย็น, กฤษฎา มณีชัย, ธัญลักษณ์ ครึ่งธิ และณัฐวัชต์ บุญภาพ. (2560). นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน. Journal of Pacific Institute of Management Science, 3(1),196-207.
รุ่งทิวา ทาปาลี. (2561). การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารของ โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 7(2),115-128.
ศิริรัตน์ พิมณาคุณ. (2561). การบริหารความเสี่ยงด้านการบริหารทั่วไปของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 35–43.
สุรเดช จองวรรณศิริ. (2561). บทความจาก TRIS Academy Club Issue4 January 2018 “Organizational Excellence”. สถาบันวิทยาการจัดการ ทริส คอร์ปอเรชั่น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2559), เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร. กรุงเทพฯ: คุรุสภาพ.
Crovini, C., Santoro, G. and Ossola, G. (2021). Rethinking risk management in entrepreneurial SMEs: towards the integration with the decision-making process. Management Decision, 59 (5),1085-1113.
Deng, H., Duan, S.X. and Wibowo, S. (2023). Digital technology driven knowledge sharing for job performance. Journal of Knowledge Management, 27(2),404-425.
Lee, O.-K.D., Xu, P., Kuilboer, J.-P. and Ashrafi, N. (2021). How to be agile: the distinctive roles of IT capabilities for knowledge management and process integration. Industrial Management & Data Systems, 121(11), 2276-2297.
Omokhudu, O. O., & Ibadin, P. O. (2015). The value relevance of accounting information: evidence from Nigeria. Accounting and Finance Research,4(3), 20–30.
Turban, E., et al. (2008). Electronic Commerce: A Managerial Perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson/Prentice Hall.
Zaleha Abdul Rasid, S., Ruhana Isa, C. and Khairuzzaman Wan Ismail, W. (2014). Management accounting systems, enterprise risk management and organizational performance in financial institutions. Asian Review of Accounting, 22(2), 128-144.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว