แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ควบคุมสนามบินส่วนบุคคลประเภทเฮลิคอปเตอร์บนชายฝั่ง

ผู้แต่ง

  • นันทิวัชร์ โชติสกุล หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิตสาขาการจัดการการบินสถาบันการบินพลเรือน
  • ธัญญรัตน์ คำเพราะ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิตสาขาการจัดการการบินสถาบันการบินพลเรือน
  • วราภรณ์ เต็มแก้ว หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิตสาขาการจัดการการบินสถาบันการบินพลเรือน

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การฝึกอบรม, ผู้ควบคุมสนามบินส่วนบุคคล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ควบคุมสนามบินส่วนบุคคลประเภทเฮลิคอปเตอร์บนชายฝั่ง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือผู้แทนหน่วยงานด้านสนามบินเฮลิคอปเตอร์ที่มีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์เป็นของตนเอง พร้อมทั้งมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสนามบินเฮลิคอปเตอร์บนชายฝั่ง อย่างน้อย 3 - 5 ปี จำนวน 3 หน่วยงาน ซึ่งถือเป็นประชากรทั้งหมดในอุตสาหกรรมการบิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นชุดคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาการพิจารณาประเด็นหลักและแบ่งแยกประเด็นย่อยแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่ามีหัวข้อที่เหมาะสำหรับการฝึกอบรมผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้ควบคุมสนามบินส่วนบุคคลประเภทเฮลิคอปเตอร์บนชายฝั่ง จำนวน 15 หัวข้อ (Module) ได้แก่ 1) กฎระเบียบและมาตรฐานของสนามบิน 2) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเฮลิคอปเตอร์ 3) ระบบอุตุนิยมวิทยา 4) การสื่อสารระหว่างสนามบินและนักบิน 5) การทราบข้อมูลกรณีเที่ยวบินกรณีขาเข้า และกรณีเที่ยวบินขาออก 6) การดำเนินงานของสนามบินกรณีเที่ยวบินขาเข้า และกรณีเที่ยวบินขาออก 7) การบริหารจัดการผู้โดยสารและสินค้าบรรทุก 8) การตรวจพินิจพื้นที่เคลื่อนไหว 9) การตรวจพินิจและบำรุงรักษาเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ประเภททัศนวิสัย 10) การบำรุงรักษาพื้นที่เคลื่อนไหว 11) การควบคุมสิ่งกีดขวาง 12) การบริหารจัดการเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากสัตว์ 13) การรักษาความปลอดภัยสนามบิน 14) การดับเพลิงและกู้ภัยเฮลิคอปเตอร์ 15) ระบบการจัดการด้านนิรภัย ผลของการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานที่มีความประสงค์จะพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ควบคุมสนามบินส่วนบุคคลประเภทเฮลิคอปเตอร์บนชายฝั่งสามารถนำงานวิจัยฉบับนี้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องได้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่ออุตสาหกรรมการบิน

 

References

ธัญปวีณ์ ชัยธัญวิวัฒน์. (2559). อุบัติเหตุเครื่องบินกับธุรกิจการบิน (ระดับวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2558). พระราชกำหนดการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2564, จาก https://www.caat.or.th/th/archives/1627

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2559). กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์การจัดและระยะเวลาการใช้งานที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน พ.ศ. 2559. ค้นเมื่อ 24 มกราคม 2564, จาก https://www.caat. or.th/th/archives/1914

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2561). กฎกระทรวง การขอและการออกใบอนุญาตจัดตั้งสนามบิน พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2564, จาก https://www.caat.or.th/th/archives/34251

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2557). ประกาศกรมการบินพลเรือน เรื่อง ความสามารถในการจัดการสนามบินส่วนบุคคล และเอกสารหลักฐานซึ่งแสดงความสามารถในการจัดการสนามบินส่วนบุคคล พ.ศ. 2557. ค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.caat.or.th/th/archives/2869

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย. (2561). ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง มาตรฐานคู่มือสนามบินส่วนบุคคล พ.ศ. 2561. ค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2564, จาก https://www.caat. or.th/th/archives/32342

ICAO. (2020). Annex 14 Aerodrome Volume II Heliports. (5th Ed.). International Civil Aviation Organization.

ICAO. (2021). Doc 9261 Heliport Manual. (5th Ed.). International Civil Aviation Organization.

OPITO. (2020). Helideck Operations Initial Training Standard (HLO and HDA Initial Training). Offshore Petroleum Industry Training Organization.

Olja, C. & Gianluca, D. A. (2013). Aviation Hazards Identification Using Safety Management System (SMS) Techniques. 1th International Conference on Transport Science-ICTS 2013. Slovene Association of Transport Sciences and Faculty of Maritime Studies and Transport in Portoroz, Slovenia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30