การบริหารจัดการ การพัฒนาบุคคล และประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของพนักงานโรงงานอะไหล่รถยนต์
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, การพัฒนาบุคคล, ประสิทธิผลการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของการบริหารจัดการ และการพัฒนาบุคคลของพนักงานโรงงานอะไหล่รถยนต์ และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้างานและพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทน จำนวน 400 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ T-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงงานอะไหล่รถยนต์มีการบริหารจัดการของโรงงานอะไหล่รถยนต์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบังคับบัญชามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวางแผน ด้านการควบคุม ด้านการจัดองค์กร และด้านการประสานงาน ตามลำดับ การพัฒนาบุคคลของโรงงานอะไหล่รถยนต์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านทักษะ ด้านวิธีการทำงาน และด้านทัศนคติ ตามลำดับ และ 2) พนักงานโรงงานอะไหล่รถยนต์ที่มีเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีประสิทธิผลการปฏิบัติงานแตกต่างกัน ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ผู้ประกอบการโรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์สามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กร และการกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาบุคคล เพื่อให้เกิดประสิทธิผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานและองค์กรมากขึ้น
References
คารมณ์ เพียรภายลุน. (2558). ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บี. เค. อินเตอร์ปริ้น.
บายศรี จั่นอาจ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2559). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
พอพันธุ์ ยุวเกียรติกุล. (2559). การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการขนย้าย/เคลื่อนย้ายชิ้นส่วนและข้อมูล ด้วยระบบ MIFC. วารสารการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานรามคำแหง, 3(1), 1-15.
มยุรี วรรณสกุลเจริญ และชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 193-204.
มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว (การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วรารัตน์ ชูทอง. (2561). ปัจจัยต่อการพัฒนาศักยภาพข้าราชการศาลยุติธรรมในเขตอำนาจศาล ท้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วลัยพรรณ พรไพรสาร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มอะไหล่รถยนต์ จังหวัดนครราชสีมา (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
วัชระ แย้มชู. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.
สุกัญยา แก้วขาว, เฉลิมพงศ์ มีสมนัย และจำเนียร ราชแพทยาคม. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(27), 111-121.
Dubois, D. D. & Rothwell, W. J. (2004). Competency-Based Human Resource Management Palo Alto. CA: Davies - Black Publishing.
Griffin, R.W. (1999). Management (6th ed.). USA: Houghton Miffin.
Koontz, H. (1974). Principles of Management. New York: McGraw Hill.
Lawrence, P. R., & Lorsch, J. W. (1967). Organization and environment. Boston, MA: Cambridge.
Robbins, S. P., & Decenzo, D. A. (2005). Management (6th ed.). New York: Prentice Hall.
Schein, E. H. (1970). Organizational Psychology (2nd ed.). NJ: Prentice-Hall.
Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว