การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี

ผู้แต่ง

  • ชุติปภา ทะสะภาค สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุรมน จันทร์เจริญ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สหัสชัย มหาวีระ สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, จังหวัดอุทัยธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของวัฒนธรรม การบูรณาการความร่วมมือ นโยบายการท่องเที่ยวจังหวัด และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
2) อิทธิพลของอัตลักษณ์ของวัฒนธรรม การบูรณาการความร่วมมือ นโยบายการท่องเที่ยวจังหวัด และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี และ 3) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดอุทัยธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 360 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติแบบพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัย
เชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เป็นผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยตรง จำนวน 15 คน คัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อัตลักษณ์ของวัฒนธรรม การบูรณาการความร่วมมือ นโยบายการท่องเที่ยวจังหวัด และศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก
2) อัตลักษณ์ของวัฒนธรรมมีอิทธิพลโดยรวมต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การบูรณาการความร่วมมือ นโยบายการท่องเที่ยวจังหวัด และ ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว
ทางวัฒนธรรม 3) แนวทางการพัฒนา ได้แก่ (1) การพัฒนาฐานข้อมูลการท่องเที่ยวทุกประเภทอย่างเป็นระบบครบวงจร (2) การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว
ทุกประเภทแบบครบวงจร (3) การสนับสนุนสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว (4) การสร้างนวัตกรรมการท่องเที่ยว (5) การเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดด้านท่องเที่ยวเชิงรุก และ (6) การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). ททท. เปิดแคมเปญ Amazing Thailand Go Local เร่งกระแสท่องเที่ยว 55 เมืองรอง หลังรัฐบาลประกาศลดหย่อนภาษี หวังรายได้สู่ ชุมชนไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท พร้อมสร้างการเติบโตรอบด้านอย่างสมดุล. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก https://www.tatnewsthai.org/news_detail.php?newsID=4670

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). รายงานวิสัยทัศน์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2579. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ธนะวิทย์ เพียรดี และวนิดา อ่อนละมัย. (2564). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสู่แหล่งท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีความรับผิดชอบ:กรณีศึกษาบ้านเกาะเคี่ยม ตำบลกันตังใต้ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 4(1), 24-38.

นัดดาวดี บุญญะเดโช และเกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง. (2562). การออกแบบภาพลักษณ์ อุทัยธานีโมเดล เมืองแห่งสุนทรียวัฒนธรรม (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. นนทบุรี: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาพรชัย สิริวโร, พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ไข่มุก เหล่าพิพัฒนา และเพ็ญพรรณ เฟื่องฟูลอย. (2563). อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 5(1), 1-14.

พีรยา บุญประสงค์. (2565). การแสดงบทบาททางอัตลักษณ์ในการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยของตึกแถว บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 19(1), 1-20.

วิจิตรา บุญแล, เสรี วงษ์มณฑา, ชวลีย์ ณ ถลาง และกาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 192-101.

วัลย์ลิกา เจริญศิลป์. (2561). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 1(2), 22-33.

ศิริลักษณ์ คัมภิรานนท์ และอัญชนา ณ ระนอง. (2563). ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 31(1),1-16.

สุกัญญา วงศ์เจริญชัยกุล. (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2557). สถิติการวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เทคนิคการใช้โปรแกรม LISREL. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคง.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานจังหวัดอุทัยธานี. (2564). แผนพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2561 – 2564. ค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก http://www.uthaithani.go.th/basedata/statigyplan61-64.pdf

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

Anholt, S. (2004). Brands and Branding. In Branding places and nation. edited by R. Clifton, J. Simmons, and S. Ahmad, Princeton. New Jersey: Bloomberg Press.

Burkart, A. J. & Medlik, S. (1974). Tourism Past, Present and Future. London: Cox and Wyman Ltd.

Creswell, J. W. (2009).Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches (3rd ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.

Fakhrana, A. & Zafran, R. (2020). Sustainable Cultural Tourism Development: A Strategic for Revenue Generation in Local Communities. Journal of Economic and Tropical Life Science (JETLS), 4(2), 47-56.

Grace, J. B. (2008). Structural Equation Modeling for Observational Studies. Journal of Wildlife Management, 72(1), 14-22.

Koster, E. H. (1996). Science Culture and Cultural Tourism. In Mike Robinson, Nigel Evans and Paul Callaghan, eds. Tourism and Cultural Change: Tourism and Culture towards the 21st Century, pp. 227–238. Sunderland: The Center for Travel and Tourism and Business Education.

Likert, R. (1961). New Pattern of Management. New York: McGraw – Hill.

Mertayasa, I. N. E., Subawa, I. G. B., Agustini, K., & Wahyuni, D. S. (2021). Impact of cognitive styles on students' psychomotoric abilities on multimedia course practicum. Journal of Physics: Conference Series, 1810(1), 012056.

Richards, G. & Wilson, J. (2006). Developing creativity in tourist experiences: A solution to the serial reproduction of culture?. Tourism Management, 27(6), 1209–1223.

Tourism Western Australia. (2008). 5A’s of Tourism. Retrieved February 3, 2022, from www.tourism.wa.gov.au/jumpstartguide/totb_5Asoftourism.html

United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2006).Tourism, Culture and Sustainable Development. Retrieved January 15, 2022, from http:// unesdoc.unesco.org/images/0014/001475/147578E.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30