การเมืองในกระบวนการนโยบายการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดินของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การเมือง, กระบวนการนโยบาย, สายสื่อสารโทรคมนาคม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของกระบวนการนโยบายการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดินของประเทศไทย และ 2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การเมืองในกระบวนการนโยบายการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดินของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้นำทางการเมืองและผู้ตัดสินใจนโยบาย กลุ่มภาคราชการ และกลุ่มภาคเอกชนผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคม จำนวน 10 ราย ใช้การคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์โดยการจำแนกชนิดข้อมูล (Typological Analysis)
และนำเสนอแบบพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลำดับพัฒนาการของการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดิน แบ่งได้เป็น
3 ช่วงเวลาสำคัญ คือ (1) ช่วงก่อนการบริหารประเทศภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (2) ยุคของการปกครองภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2557 – 2562 (3) หลังการปกครองภายใต้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2562 - ปี พ.ศ. 2564 2) การเมืองในกระบวนการนโยบายการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดินของประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ (1) การเมืองในการกำหนดนโยบายการนำสายสื่อสารโทรคมนาคมลงใต้ดิน และ (2) การเมืองในกระบวนการนโยบายการนำสายสื่อสารโทรคมนาคม
ลงใต้ดิน

References

กิตติ วิสารกาญจน. (2554). การเมืองในกระบวนการกำหนดนโยบายสิทธิในน้ำของประเทศไทย: การศึกษาในเชิงวาทกรรม (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จุมพล หนิมพานิช. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานเศรษฐกิจ. (2562). กทม. พร้อมแล้ว! นำ "สายสื่อสาร" ลงใต้ดินแล้วเสร็จภายใน 2 ปี. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/technology/398682

นิธิตา สิริพงศ์ทักษิณ. (2554). การเมืองในนโยบายสื่อสาธารณะขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีนิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาศ เรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (11 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 47 ก, หน้า 3.

วรเดช จันทรศร. (2552). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงาน กสทช. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.). (2563). ความพร้อมของอุตสาหกรรมในการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565, จาก https://www.nbtc.go.th/ getattachment/0ecdd9bd-1872-4a74-b99b-f283528d6af2/โครงการศึกษาร่วมฉบับสมบูรณ์_NBTC_BOT_CoRe2020.pdf.aspx?lang=th-TH&ext=.pdf

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ 2 (12 กันยายน 2558 – 12 กันยายน 2559). กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ 2 (25 กรกฎาคม 2563 – 25 กรกฎาคม 2564). กรุงเทพฯ: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

อริยาภรณ์ งามปลั่ง. (2553). การกำหนดนโยบายสาธารณะด้านพลังงานทดแทนเอทานอลและแก๊สโซฮอล์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

BBC NEWS ไทย. (2565). ชัชชาติ: จัดระเบียบสายสื่อสารและนำลงใต้ดินทั่ว กทม. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2565,จาก https://www.bbc.com/thai/62033166

Dery, D. (2000). Agenda setting and problem definition. Policy studies, 21(1), 38-47.

Dye, T. R., & Zeigler, H. (1981). The Irony of Democracy: An Uncommon Introduction to American Politics, Fifth Edition. California: Wadsworth Publishing Company.

Gironés, E. S., Est, R. V. & Verbong, G. (2020). The role of policy entrepreneurs in defining directions of innovation policy: A case study of automated driving in the Netherlands. Technological Forecasting & Social Change, 16(C), 1-12.

Kingdon, J. W. (2014). Agendas, alternatives, and public policies. Essex: Pearson.

Van Meter, D. S., & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6, 445-488.

Wee, J. S., Phang, S. N. & Khalil, S. (2018). The role of political elites in the development of new village in Malaysia. Journal of Public Administration and Governance, 8(2), 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30