แนวทางการดำเนินธุรกิจนวดแผนไทยอย่างยั่งยืน: กลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ
คำสำคัญ:
นวดแผนไทย, ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ, กลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ 2) เพื่อศึกษาทักษะในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิให้มีความยั่งยืน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการผสานวิธีการรวบรวมข้อมูล ด้วยแบบสอบถามโดยการสุ่มตัวอย่างจากผู้ใช้บริการนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ จำนวน 250 คน ด้วยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้แบบสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจนวดแผนไทยหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลธุรกิจนวดแผนไทย จำนวน 20 คน ด้วยวิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงและให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิมีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวน 3-4 ครั้งต่อเดือน วัตถุประสงค์การใช้บริการนวดแผนไทยเพื่อดูแลและส่งเสริมสุขภาพ ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการนวดประคบสมุนไพร ช่วงเวลาที่มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นช่วงเย็น ระยะเวลาในการใช้บริการ 2 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้งประมาณ 200-500 บาท
2. ทักษะในการดำเนินงานของผู้ประกอบการธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ พบว่า ทักษะในการดำเนินงานของผู้ประกอบการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ และทักษะด้านเทคนิค ตามลำดับ
3. แนวทางการดำเนินงานธุรกิจนวดแผนไทยในกลุ่มเบญจบูรพาสุวรรณภูมิให้มีความยั่งยืน พบว่า ผู้ประกอบการควรมีความรู้ในศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ และศาสตร์การนวดแผนไทย พัฒนาฝีมือของพนักงานให้บริการที่ได้คุณภาพและมีมาตรฐาน การประชาสัมพันธ์และการตลาด การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการลูกค้า และการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังของรัฐบาลหรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
References
ณัฎฐกานต์ ศรีษะเกตุ. (2560). แผนธุรกิจนวดแผนไทย สปา ร้าน Lanna Thai Massage & Spa (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ:บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นภาวรรณ เนตรประดิษฐ์. (2563). ความสำเร็จในการจัดการของกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยในเขตพื้นที่เทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 20(1), 95-106.
พระมหาวิจิตร งามวรัญญู. (2560). คุณภาพการบริการของบริษัท แพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์. (2560). แผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง พ.ศ.2560-2564. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2563, จาก https://www.ops.moc.go.th
สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย. (2560). นวดแผนไทย...ศาสตร์โบราณในโลกสมัยใหม่. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2567, จาก http://Thaipublicmedia.com
สมพงษ์ สุเมธกชกร และคณะ. (2566). การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน ของธุรกิจนวดแผนไทยในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 595-606.
สมพิศ กองอังกาบ, อโณทัย งามวิชัยกิจ และ ลัดดา วัจนะสาลิกากุล. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 295-304.
Baker, J. (2023). The growth of traditional Thai massage: Trends and opportunities. Thai Massage Journal, 12(1), 45-60.
Cochran, W. G. (1953). Matching in analytical studies. American Journal of Public Health and the Nations Health, 43(6_Pt_1), 684-691.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297–334.
Katz, R. L. (2009). Skills of an effective administrator. Harvard Business Review Press, 52(5), 90-102.
Kirsch, I., et al. (2021). Buttressing the Middle: A Case for Reskilling and Upskilling America's Middle-Skill Workers in the 21st Century. Policy Report. ETS Center for Research on Human Capital and Education.
Nozari, H., & Aliahmadi, A. (2022). Lean supply chain based on IoT and blockchain: Quantitative analysis of critical success factors (CSF). Journal of Industrial and Systems Engineering, 14(3), 149-167.
Thiele, L. P. (2016). Sustainability. New Jersey: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว