กลยุทธ์การวางตำแหน่งใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจสีเขียวของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี ธงภักดิ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พิทักษ์ ศิริวงศ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ระชานนท์ ทวีผล หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว โรงแรม และอีเวนต์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การวางตำแหน่งใหม่ , ธุรกิจสีเขียว , ร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์การวางตำแหน่งใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจสีเขียวของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์การวางตำแหน่งใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจสีเขียวของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนที่ 1 ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 20 คน ขั้นตอนที่ 2 ใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต EDFR โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและการทำแบบสอบถาม จำนวน 17 คน และในขั้นตอนที่ 3 การเสวนาเพื่อเสริมสร้างปัญญากับผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กลุ่มผู้กำหนดกลยุทธ์ กลุ่มผู้มีบทบาทสนับสนุน กลุ่มผู้รับประโยชน์ และกลุ่มนักวิชาการผลการวิจัยพบว่าผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์ของการดำเนินธุรกิจสีเขียวของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พบว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ภัยธรรมชาติ และการเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในสังคมเปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมการบริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น
2) แนวทางในการส่งเสริมกลยุทธ์การวางตำแหน่งใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจสีเขียวของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 55 กลยุทธ์ แบ่งเป็นกลยุทธ์เชิงรุก (SO) จำนวน 19 กลยุทธ์ กลยุทธ์เชิงรับ (WT) จำนวน 13 กลยุทธ์ กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST) จำนวน 12 กลยุทธ์ กลยุทธ์เชิงแก้ไขสถานการณ์ (WO) จำนวน 11 กลยุทธ์ ซึ่งในแต่ละกลยุทธ์สามารถแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การวิเคราะห์คู่แข่ง พฤติกรรมผู้บริโภค ภาพลักษณ์ การสื่อสาร และส่วนประสมทางการตลาด 3) การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกลยุทธ์การวางตำแหน่งใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยธุรกิจสีเขียวของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้ประกอบการอาจมีการวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อหาโอกาสในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันและการสำรวจความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคน่า 2019 มีความจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องมีปรับตัวให้เหมาะสมกับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งผู้ประกอบการอาจเน้นย้ำภาพลักษณ์ความเป็นธุรกิจสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการสร้างความร่วมมือกันของผู้ประกอบการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ

References

จรัญญา วงษ์ดอนขมิ้น ณัฎฐภัทร์ สุนทรศิลสังวร ณิชชา จันทะมณี และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2557). การให้ความหมาย รูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจสีเขียวของบริษัทคีนน์ จำกัด. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(1), 191-201.

จักรกฤษ เดชพร. (2563). การรับรู้ภาพลักษณ์องค์กรด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในมุมมองของผู้บริโภค กรณีศึกษา บริษัท อำพลฟูดส์โพรเซสซิ่ง จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชานนท์ มหาสิงห์ จอมขวัญ สุวรรณรักษ์ และวิชัย เจริญธรรมานนท์. (2563). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการร้านอาหารขนาดกลางที่มีสาขาเครือข่ายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 3(3), 81-99.

นพรัตน์ บุญเพียรผล. (2560). “Eco Restaurant” แนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างนักคิด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(2), 131-141.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2553). Repositioning your CSR ความดีต้องสดและใหม่. ค้นเมื่อ 6 กันยายน 2565, จาก https://www.pipat.com/2010/02/

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2543). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สุภภัชชญา ทองคำผุย. (2565). การปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารโครงการทวิปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจ, 1-13.

สุภาวดี ธงภักดิ์ และสันติธร ภูริภักดี. (2564). แนวทางการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการบริการของร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “ร้านอาหารยามเย็น กรุงเทพมหานคร”ภายใต้สถานการณ์การแพร่รระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 761-772.

สำนักงานการต่างประเทศ. (2564). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs). ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก https://iao.bangkok.go.th /content-detail/22615

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ. (2564). แนวโน้มราคา “ผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ”. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก https://www.ditp.go.th/contents_ attach/732993/73299 3.pdf

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2563). โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก https://www.nstda.or.th/home/ knowledge_post/bcg-by-nstda/

Chan, R. Y., He, H., Chan, H. K., and Wang, W. Y. (2012). Environmental orientation and corporate performance: The mediation mechanism of green supply chain management and moderating effect of competitive intensity. Industrial Marketing Management, 41(4), 621-630.

Ester, Richard, J. (1993).Toward sustainable development: From theory to praxis. Social Development Issues, 15(3), 1 – 29.

Olson, E. G. (2009). Business as Environmental Steward: The Growth of Greening. Journal of Business Strategy, 30 (5), 4-13.

Strategic Direction. (2008). Mixing the old and new: How to succeed with corporate rebranding. Strategic Direction, 24(7), 6–8.

Wheelen, T. L. & Hunger, J. D. (2006). Strategic Management and Business Policy. (10th ed). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31