ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์อาหาร สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ หมื่นจิตน้อย มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กวิน สนธิเพิ่มพูน มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, บรรจุภัณฑ์อาหาร, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์อาหาร และ  2) วิเคราะห์หาปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยในการเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์อาหารจากการประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด 10 คน ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ 10 คน รวม 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process: AHP) และเครื่องมือในการคำนวณใช้โปรแกรม Microsoft excel
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์อาหาร คือ ลักษณะกายภาพของผลิตภัณฑ์, ราคาของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์, กลุ่มเป้าหมาย, ลักษณะการนำไปใช้งาน, การขนส่ง และการเก็บรักษาอาหาร 2) ปัจจัยหลักและปัจจัยย่อยในการเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์อาหารจากการประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น พบว่าน้ำหนักความสำคัญของ 6 ปัจจัย โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ลักษณะกายภาพของผลิตภัณฑ์ (แบบของเหลว,แบบกึ่งแข็งกึ่งเหลว,แบบเป็นชิ้นหรือก้อน) น้ำหนัก 0.2041,ราคาของโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ (ภาษีและค่าธรรมเนียม, ต้นทุนการจัดการส่ง,ต้นทุนวัตถุดิบ) น้ำหนัก 0.1879, กลุ่มเป้าหมาย (วัยเด็กเล็ก,วัยเด็กโต,วัยรุ่น,วัยผู้ใหญ่,วัยผู้สูงอายุ) น้ำหนัก 0.1721, ลักษณะการนำไปใช้งาน (สะดวกในการจัดเก็บและพกพา, สามารถนำไปใช้งานง่าย) น้ำหนัก 0.1580, การขนส่ง (สามารถวางซ้อนกันได้, สะดวกต่อการขนส่ง) น้ำหนัก 0.1451 และ การเก็บรักษาอาหาร (สามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของอาหาร, สามารถรักษาคุณภาพของอาหาร) น้ำหนัก 0.1332 และองค์ความรู้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้กับผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการรายย่อยนำไปประยุกต์ใช้ปัจจัยหลัก (เกณฑ์หลัก) และปัจจัยย่อย (เกณฑ์ย่อย) ช่วยในการตัดสินใจเลือกวัสดุของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อให้รองรับกับการแข่งขันของตลาดในปัจจุบันและเพื่อให้มีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันมากขึ้น

References

กฤษฏา ดูพันดุง. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า กลุ่มจักสานไม้ไผ่ บ้านดงเย็น.วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(1), 127-140.

เกสาวดี เชี่ยวชาญ. (2557). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าผลผลิตข้าวสารสู่ตลาดผู้บริโภคแบบมีส่วนร่วมนำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ กรณีศึกษา กลุ่มข้าวชาวนาตะปอนใหญ่ ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

คณิต อยู่สมบูรณ์ และ ชนัญชิดา อุบลรัตน์. (2561). การออกแบบบรรจุภัณฑ์จากกระบวนการพัฒนาวัสดุทดแทนด้วยฟางข้าวผสมเมล็ดพืช สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปเพื่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ร้านมาสมัวแซลล์ (MAZMOIZELLE). วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 55-68.

จักเรศ เมตตะธำรง, กนกอร นักบุญ, กรรณิการ์ สมบุญ, ศิริพร สารคล่อง, เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา, ชเวง สารคล่อง และ จุฬาสินี แมนสถิต. (2564). ความพึงพอใจต่อคุณลักษณะของรสชาติและการบรรจุภัณฑ์ของการแปรรูปเครื่องในโค. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 2(1), 43-54.

จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง, วิรัชยา อินทะกัณฑ์ และ กุลชญา สิ่วหงวน. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ กลุ่มศิลปะประดิษฐ์โอทอป (OTOP) จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(2), 163-173.

จุฑาภรณ์ เลิศไกร, จิราภรณ์ ถมแก้ว และกาญจนา แก้วทอง. (2562). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์เครื่องแกงของกลุ่มผู้สูงอายุ บ้านลำพด ตำบลคลองทราย อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

เจษฏาพล กิตติพัฒนวิทย์. (2557). การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 15(2), 101-114.

ชลธิศ ดาราวงษ์. (2560). การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.

ชุลีกร เทพบุรี, ธัญญ์ธิชา ศรีคำ, นภัสสร แซ่ลิ้ม, ศุภชัย เหมือนโพธิ์ และ วทัญญู รัศมีทัต. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการรายย่อย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, 3(1), 50-58.

ฐิติวัฒน์ บูรณกุล. (2559). ความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งสีทองของกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรบ้านท่าล้อ จังหวัดเชียงใหม่ (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ณธกร อุไรรัตน์. (2560). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วารสารวิจิตรศิลป์, 8(1), 165-202.

ณัฏฐิกา สิงคะสะ. (2554). ศึกษาแนวคิดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมของญี่ปุ่น (วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดรุณี มูเก็ม. (2560). การพัฒนารูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์น้ำพริกกุ้งเสียบ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปริง จังหวัดพังงา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(2), 69-79.

ธนพร สิทธิยศ. (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ไวน์สตรอว์เบอร์รี่ สวนดอยแก้ว เขียงใหม่ (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธนวัฒน์ เมธีธัญญรัตน์. (2558). การเลือกที่ตั้งคลังน้ำมันในประเทศไทยโดยใช้วิธีลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์. วิศวสารลาดกระบัง, 32(3), 37-42.

ธัญลักษณ์ ศุภพลธร, เศรษฐชัย ใจฮึก, กษิรา ภิวงศ์กูร และ ธนายุต บัวหลวง. (2565). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์กะละแมโบราณเชียงคำ อำเภอเชียงคำ. ใน การประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 22 “ชีวิตวิถีใหม่ของการศึกษาในสังคมดิจิทัล” (61-74). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธีระชัย สุขสด. (2544). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ. โอเดียนสโตส์.

นพวรรณ ชีวอารี. (2555). การวิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปเพื่อส่งเสริมการขาย กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์หมูแปรรูปในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม (ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เบญจวรรณ กิ่งแก้ว. (2554). เทคโนโลยีการบรรจุหน่อไม้ฝรั่งและการใช้ Analytical Hierarchy Process (AHP) เป็นแนวทางในการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรารถนา ศิริสานต์, ณิชกานต์ จูนก, เทียนชัย ชื่นบางบ้า และ พรญาณี เขียวบ้านยาง. (2562). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์กล้วยแปรรูป ตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(1), 63-76.

พรวจี บุญเลี้ยง. (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แคบหมูนายแม่ จังหวัดลำปาง (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

มาธุสร แข็งขัน และ อภิชาต โสภาแดง. (2558). การคัดเลือกทำเลที่ตั้งคลังเก็บดอกหญ้า จังหวัดเชียงราย โดยใช้หลักการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์. วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน, 3(2), 1-8.

ยูนิเซฟ มาศวิเชียร. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เครื่องแกงโดยการใช้เทคนิคการแปลงหน้าที่เชิงคุณภาพ : กรณีศึกษาโรงงานเบเครื่องแกงใต้ (สารนิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

รดามณี พัลลภชนกนาถ, นวพร ฝอยพิกุล, สุรัตน์ หงส์ไทย และ เอกชัย ปานมาก. (2566). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวของกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนโดยตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 14(1), 98-131.

รัตนวารี นันท์ชัยพฤกษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ภายใต้ แบรนด์ Amery (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล.

วชิร วาสนา และ กัญญา กำศิริพิมาน. (2555). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมกง ตำบลหนองแก อำเภอเมืองอุทัยธานี. ใน การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2 (1-11). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรพจน์ พันธุ์คง, ธรินี มณีศรี และ ชวลิต มณีศรี. (2560). การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นสำหรับการประเมินทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล. วิศวสารลาดกระบัง, 34(2), 37-43.

วัชราภรณ์ ชัยวรรณ, เจนจิรา บ.ป.สูงเนิน และ อัครณิต บรรเทา. (2023). แนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์อาหารทางทะเลแปรรูปบนฐานอัตลักษณ์วิถีชีวิตของชุมชน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 4(1), 41-65.

วัฒน์ พลอยศร. (2562). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ปลาตากแห้ง กลุ่มแม่บ้านตำบลท่าไร่ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 14(3), 245-254.

วิฑูร ตันศิริคงคล. (2542). กระบวนการตัดสินใจที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก. กรุงเทพฯ: กราฟฟิค แอนด์ ปริ้นติ้ง.

วิฑูร ตันศิริคงคล. (2557). AHP การตัดสินใจขั้นสูงเพื่อความก้าวหน้าขององค์กรและความอยู่ดีมีสุขของมหาชน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

วุฒิชัย วิถาทานัง. (2564). การออกแบบตราสัญลักษณ์และบรรจุภัณฑ์กล้วยม้วนสอดไส้ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตเกษตรอินทรีย์และพืชสมุนไพรละลุ จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 148-160.

ศราวุธ ไชยธงรัตน์ และ สุนาริน จันทะ. (2555). การกำหนดระดับสินค้าคงคลังสำรองที่เหมาะสมสำหรับสินค้าประเภทสั่งทำ กรณีศึกษาองค์กรผลิตประตูหน้าต่าง. ใน การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการประจำปี 2555 (346-352). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิรินภา พรมมาแบน และ ศศิธร ทองเปรมจิตต์. (2561). การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูปกลุ่มสตรีบ้านแม่กี๊ดหลวง. วารสารราชมงคลล้านนา, 6(2), 58-72.

สุภาพร อภิรัตนานุสรณ์ และ กฤตภาส จินาภาค. (2556). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์น้ำพริกพร้อมบริโภค. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ, 36(4), 451-464.

สุภาวดี พนัสอำพน และ ศรีสุดา ลีลาสุวัฒน์. (2554). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้าทางการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554 “อนาคตชนบทไทย : ฐานรากที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” (336-341). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไสยเพ็ญ เฉิดเจิม, ภูพิชย์ ทานะ และ แสงเดือน ธรรมวัตร. (2564). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 6(1), 28-35.

หทัยทิพย์ พนาวงศ์, ภูพงษ์ พงษ์เจริญ และ นฤพนธ์ พนาวงศ์. (2553). การประเมินและคัดเลือกซัพพลายเออร์ในธุรกิจผลิตเสื้อผ้าเด็กด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น. ใน การประชุมทางวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 6 นเรศวรวิจัย : วิถีชีวิตยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง (1082-1092). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อโนทัย เพ็ชรสุวรรณ. (2549). การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวแต๋น ในโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรช กระแสอินทร์, นภาวดี โรจนธรรม และ พรปวีร์ ดิษฐคำเริง. (2021). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวจากอัตลักษณ์เมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 34(3), 37-53.

อรชา บุรานนท์. (2558). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับแยมบ้านไม้หอม (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุสิธารา จันตาเวียง. (2563). การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมไทย. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 4(2), 60-69.

Ageliki, K., Dimitris, F. & Thomas, F. (2020). Investigating food packaging elements from a consumer’s perspective. Foods, 9(8), 1097-1113.

Balwada, J., Samaiya, S. & Mishra, R.P. (2021). Packaging Plastic Waste Management for a Circular Economy and Identifying a better Waste Collection System using Analytical Hierarchy Process (AHP). Procedia CIRP, 98, 270-275.

Chan, F. T. S., & Chan, H. K. (2010). An AHP model for selection of suppliers in the fast changing fashion market. International Journal of Advanced Manufacturing Technology, 51, 1195-1207.

Czekster, R. M., Webber, T., Jandrey, A. H., & Marcon, C. A. M. (2019). Selection of enterprise resource planning software using analytic hierarchy process. Enterprise Information Systems, 13(6), 895–915.

Hadi, A., Mahsa, J. O. & Ayda, S. (2021). A review on techniques utilized for design of controlled release food active packaging. Critical Reviews in food science and nutrition (Taylor & Francis), 61(15), 2601-2621.

Moktadir, A., Rahman, T., & Sultana, R. (2017). Selection of Best Supplier by Using AHP Approach for Managing Risk Factors in Logistics: A Case of Leather Products Industry. Industrial Engineering & Management, 6(4), 1-7.

Phrapratanporn, B., Thanitnan, C., Kochakasettrin, N., Rungsawanpho, D., Aunyawong, W. & Thanitnan, C. (2022). Online Purchase Decision on Consumer Goods in the Context of the Service Value of Third-Party Logistics Service Provider. Journal of Optoelectronics Laser, 41(4), 79-84.

Pishchulov, G., Trautrims, A., Chesney, T., Gold, S. & Schwab, L. (2019). The Voting Analytic Hierarchy Process revisited: A revised method with application to sustainable supplier selection. International Journal of Production Economics, 211, 166-179.

Ruiqi, C., Tang, T. & Marion, M. H. (2021). The impact of food packaging on measured food intake : A systematic review of experimental field and naturalistic studies. Appetite, 166, 1-12.

Saaty, T.L. (1980). The analytic hierarchy process. New York : McGraw – Hill.

Salwa, H. N., Sapuan, S. M., Mastura, M. T. & Zuhri, M. Y. M. (2019). Analytic Hierarchy Process (AHP) - Based Materials Selection System for Natural Fiber as Reinforcement in Biopolymer Composites for Food Packaging. Bio resources, 14(4), 10014-10036.

Talib, F., & Asjad, M. (2019). Prioritisation and selection of non-traditional machining processes and their criteria using analytic hierarchy process approach. International Journal of Process Management and Benchmarking, 9(4), 522–546.

Vyas, H. (2015). Packaging design elements and users perception : A context in fashion branding and communication. Journal of Applied packaging research, 7(2), 95-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31