รูปแบบการส่งเสริมการแต่งกายชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์ และกระบวนการกลายเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การแต่งกายของชาวผู้ไทยกาฬสินธุ์, ชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์, อัตลักษณ์วัฒนธรรม, ความเป็นเอกลักษณ์บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมการแต่งกายชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์ของสตรีชาวกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาเชิงวิเคราะห์กระบวนการที่ทำให้ชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์กลายเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวกาฬสินธุ์ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยโดยการค้นคว้าจากเอกสาร หนังสือ ตำรา งานวิจัย วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม การลงพื้นที่เพื่อบันทึกข้อมูล และเข้าร่วมสังเกตการณ์ในเทศกาลหรืองานประเพณีในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นงานที่มีรูปแบบการนำเสนอวัฒนธรรมผู้ไทย หรือมีการสวมใส่ชุดผู้ไทยภายในงาน และจัดหาอาภรณ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ มาประกอบสร้างเป็นชุดการแต่งกายที่บ่งบอกอัตลักษณ์และจัดหาตัวแทนเพื่อมานำเสนอในปฏิบัติการเรือนกายของชุดอัตลักษณ์ทั้ง 3 พื้นที่จำนวน 12 ชุดก่อนจะนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียงและประมวลผล
เพื่อนำเสนองานวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่าวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีชาวผู้ไทยมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่สิ่งที่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์แห่งชาติพันธุ์ที่โดดเด่นและสร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดกาฬสินธุ์คือ การแต่งกายด้วยชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นชุดอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของพื้นที่ ชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์ยังเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่
บ่งบอกถึงความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมในหลายๆด้าน เป็นภาพลักษณ์ที่ทำให้จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรม เพราะมีการสร้างภาพจำที่น่าประทับใจผ่านอัตลักษณ์การแต่งกาย ด้วยการนำเสนอผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ มีการจัดงานบุญประจำปี งานประเพณี ที่ทำให้ผู้คนตื่นตัวในเรื่องของวัฒนธรรมการแต่งกายอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์ กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่สามารถซื้อหาเพื่อการสวมใส่ได้ทุกคน ในอดีตชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์อาจจะเป็นเพียงชุดอัตลักษณ์ที่สวมใส่กันเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์
ชาวผู้ไทย แต่เมื่อมีการแพร่กระจายวัฒนธรรม ด้วยความงามของชุดที่เป็นเอกลักษณ์ ชุดผู้ไทยจึงไม่ได้เป็นเพียงชุดที่สวมใส่กันเฉพาะสตรีชาวผู้ไทยอีกต่อไป หากแต่ยังสามารถสวมใส่ได้ทุกคน และปัจจุบันก็มีปรากฏให้เห็นในทุกงานบุญประเพณีและทุกเทศกาลของจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเหมือนภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมที่ผู้คนคุ้นชิน สิ่งนี้จึงเป็นข้อชี้ชัดว่าชุดผู้ไทยกาฬสินธุ์คือชุดที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของชาวกาฬสินธุ์ได้อย่างสมบูรณ์และได้กลายเป็นเอกลักษณ์การแต่งกายของสตรีชาวกาฬสินธุ์
References
ภัททิยา ยิมเรวัต. (2544). ประวัติศาสตร์สิบสองจุไท. กรุงเทพฯ : สร้างสรรค์.
วิญญู ผลสวัสดิ์. (2536). พิธีกรรมเลี้ยงผีบรรพบุรุษของชาวผู้ไทยตำบลคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสารคาม.
Thompson, C.J. & Haytko, D. (1997). Speaking of Fashion: Consumers’ Uses of Fashion Discourses and the Appropriation of Countervailing Cultural Meanings. Journal of Consumer Research, 24(1), 15-42.
Harrison Monarth. (2022). What’s the Point of a Personal Brand?. Retrieved April 10, 2022, from https://hbr.org/ 2022/02/whats-the-point-of-a-personal-brand
Craig, J.R. (1994). Ore Microscopy and Ore Petrography. 2nd Edition. Hoboken: John Wiley & Sons Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว