การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้และการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการคิดขั้นสูง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • พิสิฐศักดิ์ ดวงพรม โรงเรียนบ้านท่าข้าม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเรียนรู้โดยใช้ภาระงานเป็นฐาน, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน, สมรรถนะการคิดขั้นสูง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาการคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5; 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดเรียนรู้ และ 3) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มโรงเรียนขนาดกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 จำนวน 24 คน ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้และคู่มือ (2) แบบประเมินสมรรถนะการคิดขั้นสูง(3) แผนการจัดการเรียนรู้ (4) แบบประเมินประสบการณ์ความเพลิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้มีลักษณะที่เน้นกระบวนการ เป็นการทำงานร่วมกันในหลายขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ การวางแผน การปฏิบัติจริง การตรวจสอบ การประเมินผล การพัฒนา และการเผยแพร่ผลงาน โดยใช้บริบทท้องถิ่นเป็นฐานในการเรียนรู้ ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง ช่วยแนะแนวทาง สนับสนุน และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อพัฒนาการทำงานของผู้เรียน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดประเด็นการเรียนรู้ (S) ขั้นที่ 2 กระตุ้นสร้างเสริมแรงบันดาลใจ (E) ขั้นที่ 3 สำรวจและค้นหา (E)  ขั้นที่ 4 ลงมือปฏิบัติ (A) ขั้นที่ 5 นำเสนอ (P) และขั้นที่ 6 ประเมินผลร่วมชื่นชมผลงาน (A) (4) การวัดและประเมินผล (5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบความสำเร็จ รูปแบบมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้เรียนมีสมรรถนะการคิดขั้นสูง ทั้ง 4 ด้าน สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และประสบการณ์ที่ดีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก

References

กนกทิพย์ ปิ่นแก้ว และ ทรงศักดิ์ สงวนสัตย์. (2562). การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบุญเกษม. วารสารการประชุมวิชาการวิจัยระดับชาติครั้งที่ 21, 562-572.

กมลวรรณ ทับโทน. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7E เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เกศแก้ว นาทองคำ. (2565). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จิรา ธัญญานนท์. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์เรื่องระบบนิเวศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5E เป็นฐาน (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

เจ๊ะแม อ., โมพันธ์ ณ., & แวดราแม ม. (2018). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 5(1), 11–23.

พิสิฐศักดิ์ ดวงพรม. (2563). รายงานการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (KSP-PLC-Nation). เชียงใหม่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 6.

พิสิฐศักดิ์ ดวงพรม. (2567). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกระบวนการคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาวิทยาศาสตร์สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่, 3(1), 37-52.

มงคล เรียงณรงค์และ ลัดดา ศิลาน้อย. (2559). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการ สอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 141-148.

วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ และวรวรรณ นิมิตพงษ์กุล. (2562). สอนสร้างสรรค์ เรียนสนุกยุค 4.0. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ด. ยูเคชั่น.

วิโรจน์ เอี่ยมเจริญ และอภิสิทธิ์ เอี่ยมหน่อ. (2560). คู่มือครูวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.

ศุภพงศ์ พิพัฒน์. (2562). การสอนแนวทางการเรียนรู้จากงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . (2561). คู่มือการใช้หลักสูตรสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สัพพัญญู สุขพิระวัฒนกุลและคณะ. (2564). ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.,13(2), 89-99.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช... ซึ่งมีลักษณะเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ (Competency based Curriculum). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม. ค้นเมื่อ 3 เมษายน 2567, จาก https://www.ksp.or.th/

Anderson, L. W., & Krathwohl, D. R. (Eds.). (2001). A taxonomy for learning, teaching, and assessing: A revision of Bloom's taxonomy of educational objectives. New York: Longman.

Bonwell, C. C. (1991). Active learning: Creating excitement in the classroom. Washington, DC: George Washington University, School of Education and Human Development.

Brookhart, S. M. (2010). How to assess higher-order thinking skills in your classroom. Alexandria, VA: ASCD.

Bruner, J. S. (1961). The process of education. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Burke, B. (2014). Gamify: How gamification motivates people to do extraordinary things. Brookline: Bibliomotion.

Bybee, R. W. (1987). Science education and the science of education. Science Education for Nonmajors, Washington, D.C.: NSTA Press.

Dewey, J. (1938). Experience and education. New York: Macmillan.

Drenoyianni, H., & Kourtis, P. (2022). Investigating the development of higher order thinking in an elementary classroom: Results from a mixed methods study. Education 3-13, 50(8), 1-15.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model. The Science Teacher, 70(6), 56-59.

Fedler, F., & Brent, D. H. (1996). Active learning: Strategies for the college classroom. Fort Worth, TX: Harcourt Brace College Publishers.

Gillies, R. M. (2023). Using cooperative learning to enhance students’ learning and engagement during inquiry-based science. Education Sciences, 13(12), 1242.

Joyce, B., & Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. (7th ed.). Boston: Pearson Education.

Karplus, R., & Thier, H. D. (1967). A new look at elementary school science. Chicago: Rand McNally.

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting active learning: Strategies for the college classroom. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Nunan, D. (1989). Designing tasks for the communicative classroom. Cambridge: Cambridge University Press.

Prabhu, N. S. (1987). Second language pedagogy. Oxford: Oxford University Press.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.

Willis, J. (2007). Doing Task-based Teaching. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-30