การประศาสน์นโยบายสาธารณะในสมัยรัชกาลที่ 6 กรณีกองเสือป่า

ผู้แต่ง

  • ฐนัตถ์ สุวรรณานนท์ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • จรัส สุวรรณมาลา สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • เฉลิมพร เย็นเยือก มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ, กองเสือป่า, ผู้นำ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาของกองเสือป่าในเชิงกระบวนการนโยบายสาธารณะ  2) วิเคราะห์ปัญหา และ อุปสรรค ระหว่างกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ความก้าวหน้าและการก่อตัวของนโยบายใหม่หลังจากที่การดำเนินกิจกรรมกองเสือป่ายุติลง โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากแหล่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์และผลงานวิจัยจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสรุปและวิเคราะห์ประกอบการพรรณนาตามวัตถุประสงค์การวิจัย

ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเป็นมาของกองเสือป่าในเชิงกระบวนการนโยบายสาธารณะ เป็นนโยบายสาธารณะที่แปลกใหม่เกิดขึ้นมาเป็นเวลากว่า 100 ปี มีการทดลองนำนโยบายไปปฏิบัติบางส่วนที่เป็นต้นแบบของนโยบายสาธารณะใหม่ที่จริงจังและมีขนาดใหญ่ และ 2) ปัญหาและอุปสรรคเกิดจากการดำเนินงานที่มีความซับซ้อน ผู้กำหนดนโยบายอาจมุ่งเน้นเพียงผลขั้นปลายที่จะเกิดขึ้น โดยระหว่างทางของนโยบายจะมีประเด็นที่เป็นปัญหา และเป็นความท้าทายต่อผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ดังนั้น เพื่อลดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองเสือป่า ผู้บริหารรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการตามนโยบายควรให้ความสำคัญในด้านการเป็นผู้นำ และการจัดองค์การขึ้นมารองรับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ และสามารถทำให้ลดปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินนโยบายในการทางการดำเนินนโยบายในอนาคต

References

คณะกรรมการฉลองวันพระบรมราชสมภพครบ 8 รอบ และ 100 ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2524). สารานุกรมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เล่ม 2 ย – อ. ไม่ปรากสถานที่พิมพ์.

จรัส สุวรรณมาลา. (2564). สัมมนาทฤษฎีนโยบายสาธารณะ. เอกสารบรรยายวิชา PAD 709. ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยรังสิต.

จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช). (2514). เสือป่าและลูกเสือในประวัติศาสตร์ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2562). นโยบายสาธารณะ แนวคิด การววิเคราะห์ และกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพ บุญตานนท์. (2556). พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการสร้างภาพลักษณ์ทางการทหาร (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2517). การใช้จ่ายเงินแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2453-68) (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พะนอม แก้วกำเนิด และคณะ. (2555). 100 ปี การลูกเสือไทย. กรุงเทพฯ. คุรุสภา.

พาชื่น สมคำนึง. (2520). ความสำคัญของการศึกษาของพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการปรับปรุงบ้านเมืองตามแบบตะวันตก (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรชาติ มีชูบท. (2557). สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊ค.

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2557). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2541). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: โครงการเอกสารและตำรา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สนธิ เดชนันท์. (2527). แนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ศึกษาเฉพาะกรณีการพัฒนาการเมืองโดยกระบวนการปกครองท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เหรียญ ศรีจันทร์ และเนตร พูนวิวัฒน์. (2519). กบฏ ร.ศ.130. กรุงเทพฯ: คัมภีร์.

อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ. (2563). เลือดเสือป่า ภาพฉายความชุลมุนที่มณฑลปัตตานี ในนิยายเริงรมย์ ปลายทศวรรษที่ 2460 (ตอนที่ 2). วารสารรูสมิแล, 41(3), 87-92.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31