การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมหมู่บ้านคีรีวงกตอำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐชัย เอกนราจินดาวัฒน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี
  • ธีรารัตน์ อำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี
  • ศุภกานต์ โสภาพร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม, หมู่บ้านคีรีวงกต, อุดรธานี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฐานทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยวท่องเที่ยวของหมู่บ้าน
คีรีวงกต 2) ศึกษาการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมหมู่บ้านคีรีวงกต อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี และ 3) เสนอการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวหมู่บ้านคีรีวงกต อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี ใช้รูปแบบการวิจัย
เชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้แทนชุมชนท้องถิ่น ผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว จังหวัดอุดรธานี จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) บ้านคีรีวงกตเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ให้บริการที่พักค้างแรมแก่นักท่องเที่ยวทั้งแบบโฮมสเตย์และกางเต็นท์ในหมู่บ้าน พานั่งรถซิ่ง ชมธรรมชาติ ตามดูวิถีชีวิตชาวไร่ ชาวเขา
ชมน้ำตก ทานข้าวป่า และเก็บภาพจากจุดวิวแม่น้ำโขงบนยอดเขา 2) การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมหมู่บ้านคีรีวงกตเป็นการจัดการเพื่อให้เกิดความเหมาะสมระหว่างวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและสมาชิกในหมู่บ้านร่วมมือกันบริหารจัดการด้านที่พักและกิจกรรมท่องเที่ยว และ
3) แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ (1) การอนุรักษ์ธรรมชาติ เป็นการช่วยให้ชาวบ้านเกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิดและร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและวัฒนธรรมของท้องถิ่นสืบต่อไป (2) การกระจายรายได้สู่ชุมชน เป็นการช่วยชาวบ้านได้มีชีวิตที่พัฒนาขึ้นมาอยู่ดีมีสุขและอาศัยอยู่ในบ้านเกิดของตนเองไม่ต้องออกไปทำงานในเมือง และ (3) การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม เป็นการนำเสนอให้ชาวบ้านเกิดความเข้าใจและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาคต่าง ๆ เพื่อการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559 – 2563. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2556). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://tourism-dan1.blogspot.com/

ทิพย์สุดา พุฒจร และคนอื่น. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนสลักคอก จังหวัดตราด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(2), 102-117.

ธง คำเกิด และคณะ. (2563). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานรากวิถีชีวิตชุมชนอย่างยั่งยืนของตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

เบญจวรรณ ปานแม้น และกมลวรรณ แสงธรรมทวี. (2565). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม ย่านตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 12(2), 346-364.

บันทึกคนขี้เที่ยว. (2559). ทำไมต้องไปหมู่บ้านคีรีวงกต. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก https://www.facebook.com/khonkheetiew/photos/a.1575734142731677/1575736482731443/?type=3

ภาสกร คำภูแสน. (2552). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนแม่น้ำจันทรบูร จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัมภาภัค ฤกษ์วีระวัฒนา และคณะ. (2565). การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อศักยภาพที่พักโฮมสเตย์หมู่บ้านคีรีวงกต จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 8(1), 90-100.

สรรค์ เวสสุนทรเทพ และชัยสิทธิ์ ด่านกิตติกุล. (2557). แนวโน้มการศึกษาภูมิทัศน์วัฒนธรรมในประเทศไทย. RDI Suan Dusit Rajabhat University, 10(3), 144-163.

ศิรินภา ขาวผ่องอำไพ. (2561). วิธีปฏิบัติที่ดีและความเชื่อมโยงกับชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ กรณีศึกษา: สินมานะฟาร์มสเตย์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 26(2), 12-19.

อำภา บัวระภา. (2557). ภูมิทัศน์พื้นถิ่นอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารหน้าจั่ว (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในมิติสถาปัตยกรรมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม), 27(3), 45-56.

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management, 21(1), 97-116.

International Union for Conservation of Nature (IUCN). (1994). Guidelines for Protected Area Management Categories. IUCN, Gland, Switzerland and Cambridge, UK.

Medeiros, H. M. N. et al. (2021). Alternative Tourism and Environmental Impacts: Perception of Residents of an Extractive Reserve in the Brazilian Amazonia. Retrieved August 12, 2021, from https://www.mdpi.com/2071-1050/13/4/2076

Sofronis, P & Birnbaum, H. K. (1995). Mechanics of the hydrogendashdislocationdashimpurity interactions-I. Increasing shear modulus. Journal of the Mechanics and Physics of Solids, 43(1), 49-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31