กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจน้ำพริกแกงสำเร็จรูปในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • รภัสสรณ์ คงธนจารุอนันต์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • ชนิตา พันธุ์มณี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่
  • พัชญ์ธน ทวีโชติธนพัชร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การตลาด, พฤติกรรมผู้บริโภค, น้ำพริกแกงสำเร็จรูป

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจน้ำพริกแกงสำเร็จรูป 2) ศึกษาระดับกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจน้ำพริกแกงสำเร็จรูป 3) ศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับกลยุทธ์ระดับธุรกิจของน้ำพริกแกงสำเร็จรูป และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้บริโภคต่อกลยุทธ์ทางการตลาดในจังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคจำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าที ค่าเอฟ ด้วยวิธีแอลเอสดี และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ระดับของพฤติกรรมผู้บริโภคของธุรกิจน้ำพริกแกงสำเร็จรูปในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ระดับกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจน้ำพริกแกงสำเร็จรูปในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านเพศ ด้านอายุ ด้านสถานภาพสมรส ด้านอาชีพ ด้านภูมิลำเนาปัจจุบัน ด้านรสชาติน้ำพริกแกงสำเร็จรูป และด้านการตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่ต่างกัน มีกลยุทธ์ระดับธุรกิจที่ต่างกัน ส่วนความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้บริโภคต่อกลยุทธ์ระดับธุรกิจทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงพาณิชย์. (2564). ส่องแนวโน้มตลาดน้ำพริกจีน และโอกาสสำหรับผู้ประกอบการไทย. ค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565, จาก https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view. php?filename =contents_attach/756505/756505.pdf&title=756505&cate=762&d=0

กาญจนา คลายใจ, วันเพ็ญ เจริญตระกูลปีติ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการในการขนส่งโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจอาหารแปรรูปทางการเกษตรในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสันติสุขปริทรรศน์,3(2), 13-22.

ณัฎวลิณคล เศรษฐปราโมทย์, อุบลรัตน์ พรหมฟัง, เกียรติศักดิ์ ไชยเลิศ และภูมิพัฒน์ มักได้. (2559). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวพองรสชาติอาหารล้านนา (น้ำพริกอ่อง). การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

บุญฤทธิ์ ชูประดิษฐ์. (2560). การยืดอายุผลิตภัณฑ์พริกแกง และออกแบบบรรจุภัณฑ์ (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์). สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พงศ์ศิริ แซ่ตัน. (2558). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการ กรณีศึกษา ร้านไอศกรีม Swensen’s สาขา Big C สตูล (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

รัชดา เชิดบุญเมือง, จิรวุฒิ หลอมประโคน และวิสุทธ์ กล้าหาญ (2557). ปัจจัยการตลาด และพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(พิเศษ), 76-88.

วาสนา พวงบุบผา. (2554). การศึกษากลยุทธ์การตลาดและการจัดการเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่กรณีศึกษา แรงจูงใจที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อสินค้า House Brand ของบริษัท บิ๊กซีซุปเปอร์เซนเตอร์ จำกัด (มหาชน) (การศึกษาค้นคว้าบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ศิตาพร สืบอักษร และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผักและผลไม้สดของผู้บริโภค กรณีศึกษา ร้านโกลเด้น เพลช สาขามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ครั้งที่ 55. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 1002-1009.

สิริมาส หมื่นสาย, ปรัชญา ชุ่มนาเสียว และกฤษณะ ดาราเรือง. (2565). ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อและความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ ชุมชนกลุ่มทอผ้า. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(1), 101-112.

Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity. San Francisco: Free Press.

Huang, R. & Sarigollu, E. (2012). How Brand Awareness Relates to Market Outcome, Brand Equity and the Marketing Mix. Journal of Business Research, 65, 92-99.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31