รูปแบบและกลไกการบริหารการพัฒนาเชิงพื้นที่ในการจัดการที่ดินและทรัพยากร โดยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับภูมินิเวศวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
รูปแบบและกลไก, การพัฒนาเชิงพื้นที่, การจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชนบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อวิเคราะห์บทเรียนขององค์กรปกรองส่วนท้องถิ่นในการจัดการที่ดิน และทรัพยากรโดยชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2.เพื่อพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารการพัฒนาเชิงพื้นที่ในการจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เหมาะสมกับภูมินิเวศวัฒนธรรมแม่ฮ่องสอน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงุณภาพใช้แนวคิด นิเวศวัฒนธรรม การพัฒนาเชิงพื้นที่ และการกระจายอำนาจ พื้นที่วิจัย คือ องค์กรบริหารส่วนตำบลแม่สวด เป็นพื้นที่ศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ คณะทำงานการจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชน ผู้แทนจากสภาองค์กรชุมชน จำนวน 20 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) รวบรวบข้อมูลผ่านผู้ให้ข้อมูลหลักคือคณะทำงานการจัดการที่ดินตำบล 2) จัดสนทนากลุ่มย่อยสังเคราะห์บทเรียน พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้แทนสภาองค์กรชุมชน และ 3) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลไกคู่ขนานในการยกระดับการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ และการออกข้อบัญญัติรองรับ 2) รูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ คือการบริหารที่เป็นการบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงาน ปัจจัยสำคัญคือ ระบบฐานข้อมูล GIS และนำใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาทุกมิติโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ร่วมทั้งการจัดตั้งองค์กรชุมชนระดับตำบล ในการลดข้อจำกัดทางนโยบาย
ข้อค้นพบสำคัญ คือ การพัฒนาภาคีหุ้นส่วนความร่วมมือในการใช้ประโยชน์ข้อมูล GIS ในการทำแผนพัฒนาภาพรวมการจัดการที่ดินและทรัพยากรโดยชุมชน และพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อขยายผล
ส่วนรูปแบบคือการบริหารการพัฒนาเชิงพื้นที่ในลักษณะของกลไกคู่ขนาน
References
กฤษฎา บุญชัย. (2566). นิเวศวัฒนธรรม จามานุษยวิทยานิเวศสู่ขบวนการเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมไทย. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://www.sac.or.th/portal/th/article/detail/517
กิตติ สัจจาวัฒนา. (2560). งานวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ รูปแบบงานวิจัยใหม่ที่ท้าทายกระบวนทัศน์การวิจัยของประเทศไทย (บทความรับเชิญ). ใน ชิตณรงค์ ศิริสถิตกุล (บ.ก.), การวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. (น.3 -7) นครศรีธรรมราช: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ทรงศักดิ์ ปัญญา. (2566).การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน : ระยะที่ 3 (รายงานผลการวิจัย). วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน สถาบันวิทยาลัยชุมชน.กองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วย บพท.
ภิรมย์พร ไชยยนต์.(2557). การกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่น: ศึกษากรณีการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในระดับจังหวัด (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2554). การศึกษาสังคมไทยผ่าน “ภูมิวัฒนธรรม”. ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก https://lek-prapai.org/home/view.php?id=84
สำนักงานสภาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ. (2562). ดัชนีความก้าวหน้าของคน ปี 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สภาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว